ประสิทธิผลของโครงการโรงเรียนเบาหวานสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • พงศ์ธร วงศ์สวรรค์ กลุ่มงานอายุกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

คะแนนความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน, พฤติกรรมการปฏิบัติตัว, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่พบอุบัติการณ์และความชุกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นกับ ระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ปัจจัยที่มีผลกับ ระดับน้ำตาลในเลือด คือความรู้ และพฤติกรรมการบริโภค การออกกำ ลังกาย และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นถ้าผู้ ป่วยเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมที่ดี ย่อมส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีตามมา วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จัดทำ ขึ้นเพื่อ พัฒนาระบบการให้ความรู้กับผู้ป่วยเบาหวานในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด วัสดุและวิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560- 31 มีนาคม 2561 โดยการ แบ่งกลุ่มคนไข้เบาหวานพึ่งได้รับการวินิจฉัยใหม่ ที่รับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลนครพนม เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มที่ 1 ให้ความรู้ตามแบบมาตรฐานเดิม กลุ่มที่ 2 เข้าอบรมในโครงการโรงเรียนเบาหวาน โดยมีทีมสหสาขาให้ความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน วิธีการบริโภคที่ถูกวิธี การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาที่เหมาะสม จากนั้นทำการวัด ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยการให้ทำแบบสอบถาม รวมทั้งตรวจระดับ น้ำตาลในเลือด หลังจากได้ข้อมูลครบทั้งสองกลุ่ม ทั้งก่อน-หลังการเข้าอบรม จะทำการเปรียบเทียบกันทั้งสอง กลุ่ม โดยที่การ วิจัยนี้ผ่านการอนุมัติจากกรรมการจริยธรรมในมนุษย์โรงพยาบาลนครพนมแล้ว และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม stata ผลการศึกษา : จากการเก็บรวมรวมข้อมูล พบว่าผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ได้รับ การให้ความรู้ตามแบบมาตรฐาน 30 ราย กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ได้รับความรู้โดยการผ่านโครงการโรงเรียนเบาหวาน 30 ราย ผลปรากฏว่า ทั้งเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของทั้งสองกลุ่ม ก่อน ทำการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน แต่หลังจากเข้าอบรม พบว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้วิธีเดิมมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยมีคะแนนความรู้ 56.6% คะแนนพฤติกรรม 55.2% ส่วนกลุ่มที่ผ่านโรงเรียนเบาหวาน มีคะแนน ความรู้ 72.9% คะแนนพฤติกรรม 73.2% และยังพบว่าปริมาณจำนวนยาเบาหวานที่ต้องใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติในกลุ่มที่เข้าโรงเรียนเบาหวานใช้น้อยกว่า คือ 1.7 เม็ด เทียบกับ 2.2 เม็ดในอีกกลุ่มซึ่งมีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p value < 0.01) เมื่อจบการวิจัยพบระดับน้ำตาลในเลือดของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (HbA1c = 6.90 และ 6.97) ข้อสรุป : การเข้าอบรมในโครงการโรงเรียนเบาหวานโรงพยาบาลนครพนมทำให้ระดับคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวดีขึ้น และปริมาณการใช้ยาเบาหวานลดลงกว่าการให้ข้อมูลด้วยวิธีการเดิม โดยที่ผลลัพธ์สุดท้ายทั้ง สองกลุ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน

References

World Health Organization.WHO/Diabetes Facts sheet.2013; [cited 2014 Jun 2] Available from:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.ระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ / เสี่ยง / ป่วย โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย :นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1:โรงพิมพ์กองสุขศึกษา. 2556

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนครพนม

จตุรงค์ ประดิษฐ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะพรรณ เทียนทอง. (2540). ปัจจัยสนับสนุนทางครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิจัยประชากรและสังคม คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชราภรณ์ กิ่งแก้ว. (2544). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาวนา กีรติยุตวงศ์, สมจิต หนุเจิญกุล, วริยา บุญช่วย, บุญตนาพุ่มเล่ง, และวัชรา เมืองแก. (2548). ประสิทธิภาพของโปรแกรมสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อการควบคุมเบาหวานการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองและดัชนีมวลกายในผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 9(1), 1-12.

มนต์ธิรา ไชยแขวง. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลตะกั่วป่าจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิมผกา ปัญโญใหญ่ ,ศิริรัตน์ ปานอุทัย และสมบัติ ไชย วัณณ์. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่รักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสารปีที่, 34(4), ตุลาคม - ธันวาคม 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30