รูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศทางคลินิก, การนิเทศทางคลินิกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร 2)เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกและความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูป แบบการนิเทศทางคลินิก 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ทางคลินิก วัสดุและวิธีการศึกษา : รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์สถานการณ์การนิเทศทางคลินิก 2) ออกแบบรูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) ทดลองใช้รูป แบบการนิเทศทางคลินิก 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ 5)สรุปผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 6 คน และพยาบาลวิชาชีพ ผู้รับการนิเทศ จำนวน 45 คน ที่ปฏิบัติ งานโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศ แบบ ทดสอบความรู้ผู้วิจัยได้จากการทบทวนวรรณกรรมโดยใช้แนวคิดการนิเทศทางคลินิกของ Proctor และผ่านการตรวจ สอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ได้ค่าเท่ากับ 0.96 ส่วนแบบสอบถามความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล วิชาชีพผู้รับการนิเทศ ได้ยืมเครื่องมือจากนุชจรีย์ ชุมพินิจ (โดยได้ขอใช้จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว) ซึ่ง พัฒนามาจากแนวคิดการนิเทศทางคลินิกของของ Proctor ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Wilcoxon matched pair Signed – Ranks test สถิติทดสอบ ทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน (Paired t-test) ผลการศึกษา : พบว่า 1) มีรูปแบบการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของ Proctor 2)ความรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสกลนครก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกกับหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกไม่ แตกต่างกันทางสถิติ ความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย หลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ การนิเทศทางคลินิก 3) ความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก ข้อสรุป : ผู้วิจัยมีข้อสรุปว่ารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนครนี้ สามารถนำไปใช้กับหน่วยงานของกลุ่มการพยาบาลในหน่วยอื่นๆได้ เช่นหน่วยงานห้องคลอดหน่วยงานห้องฉุกเฉิน โดย นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง
References
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. เส้นทางสู่การพยาบาลยอดเยี่ยม.กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์; 2550.
หรรษา เทียนทอง. การนิเทศทางการพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่25 มกราคม 2562 จาก http://www. Med.cmu.sc.th/hospital/nis. 2556.
สุพิศ กิตติรัชดา และ วารี วณิชปัญจพล.การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์. 2552.
จงลักษณ์ รสสุขุมาลชาติ,นิตยา ปริญญาปริวัฒน์,สุทัตา คงศรี. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารกองการพยาบาล. 2561; 45(1), 66-85.
ชณิภาดา ชินอุดมพงศ์. การประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 13; วันที่ 13 -16 มีนาคม 2555; ณ ศูนย์การประชุม IMPACT Forum เมืองทองธานีนนทบุรี.
ผ่องพรรณ ธนา และกนกรัตน์ แสงอำไพ. การบริหารการพยาบาลและการนิเทศทางคลินิก: การประชุมวิชาการประจำปี HA Forum ครั้งที่ 17 ; วันที่ 8-11 มีนาคม 2559; ณ ศูนย์ประชุม IMPACT Forum เมืองทองธานี.นนทบุรี.
Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In Cutcliffe J.R.,Butterworth T., Proctor B. Fundamental themes. Themes in Clinical Supervision. Cutcliffe, J.R. Butterworth, T., and Proctor, B., eds. London : Routledge. 2001; 25-46.
นุชจรีย์ ชุมพินิจ.การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.
สุวิณี วิวัฒน์วานิช. สภาวการณ์ผู้สูงอายุไทย: ระบบบริการสุขภาพและบทบาทผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552; 21(1),1-12.
อดาวัน ชมศิริ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาลในคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2554.
มธุรส ตันติเวสส. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลสำหรับผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการโรงพยาบาลสงฆ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560 ; 25(3),41-51.
ญาณนี รัตนไพศาลกิจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลเชียงคำจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2554.
ทานตะวัน คพราช. การพัฒนาระบบการนิเทศเพื่อความเป็นเลิศทางการพยาบาลในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อพเภอวารินชพราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก. 2555;13 (3),60-71.
ผ่องพรรณ ธนา. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560 ;35(4),52-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ