ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการอาการปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องโรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง, แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการอาการปวด, ระดับความปวด, ระดับความพึงพอใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง จำนวน 60 คน กลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลด้วยแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดแบบใหม่จำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุม คือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลด้วยแนวทางปฏิบัติเดิมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) คู่มือการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดสำหรับพยาบาล 2) คู่มือการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง 3) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของ ผู้ป่วยและแบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลเพื่อจัดการ กับความปวด เก็บข้อมูลในระยะก่อนและหลังผ่าตัดเมื่อครบ 24, 48, 72 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Chi –Square , Independent t- test และ Paired sample t- test ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดเมื่อครบ 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 ) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดก่อนและหลังได้รับการจัดการความปวดทั้งใน กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับลดลงแต่ ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมง ที่ 24, 48 และ 72 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจรวมกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับพอใจ มากส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจรวมกลุ่มทดลองอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ข้อสรุป : กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมและมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และควรนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดใน ช่องท้อง ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกลุ่มอื่น
References
จินดาวรรณ นิ่มงาม. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.
จุรีย์ สุ่นสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของพยาบาลกับกิจกรรมการพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดในผ้ปู ่วยเด็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.
นันทา เล็กสวัสดิ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการกับความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน และคณะ. บำบัดความปวด. กรุงเทพฯ: บริษัททิมส์ประเทศไทย จำกัด; 2548.
พรจันทร์ พงษ์พรหม. ผลของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อการฟื้นสภาพภายหลังผ่าตัดช่องท้องและความพึงพอใจในการพยาบาลที่ได้รับ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พรีวัน; 2549.
ลักษมี ชาญเวชธ์. Postoperative pain management. ในนครชัย เผื่อนปฐม (บรรณาธิการ), clinical proactive guideline. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นตริ้งเฮาส์; 2550.
สุนันทา สกุลยืนยง. ผลการใช้รูปแบบการจัดการกับความเจ็บปวดต่อการรับรู้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลและคุณภาพการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2546.
อุราวดี เจริญไชย. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการความรู้สึกและคำแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อความวิตกกังวล ความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.
Avis, M., Bond, M., & Arthur. Satisfying solution? A review of some unresolved issues in the measurement of patient satisfaction. Journal of Advanced Nursing1995; 22:316-322.
Feldman HR. Pain. medical surgical nursing. Pathophysiological concepts. Philadelphia JB:Lippincott; 1991.
Flaherty, G. G. & Fitzpatrick, J. J. . Relaxation technique to increase comfortable level of postoperative patients: Preliminary study. Nursing Research1978;27(6): 352-355.
Gross, A.R. The effect of coping strategies in the effect of coping strategies in the relief of pain following surgical–intervention for low back pain. Psychosomatic Medicine 1986;48: 229–241.
Mayulee Somranyart et al. Effectiveness of music on pain experience: A systematicreview. Thai Journal nursing research 2007;11(1) :15-25.
Timmon, M. E. & Bower, F. L. The effect of structured preoperative teaching on patients’ use of patient-controlled analgesic (PCA) their management of pain. Orthopedic Nursing 1993; 12(1): 23-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ