อัตราการรอดชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยไตวายที่รับการรักษา ด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาลชุมแพ
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้อง, การเสียชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกพื้นฐานของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง มัธยฐานการรอดชีพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยไตวายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาล ชุมแพ จังหวัดขอนแก่น วัสดุและวิธีการศึกษา : ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal Dialysis) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 – วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ เวลา 1 ปี (จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561) ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มล้างไตทางช่องท้อง จนถึงเสียชีวิต ประมาณค่าพรรณามัธยฐาน การรอดชีพ ด้วย overall incidence rate และ median survival time พร้อมช่วงความเชื่อมั่น สร้างกราฟ kalplan - meier survival curve และรายงานปัจจัยที่เกี่ยวข้อง cox regression analysis และขนาดของปัญหาด้วย hazard ratio พร้อมช่วงความเชื่อมั่น 95 CI ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยไตวายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 109 ราย มีระยะเวลาการติดตาม ทั้งสิ้น 4,196 สัปดาห์ พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 36 ราย พบอัตราการเสียชีวิต 0.8 ต่อ 100 คน ต่อสัปดาห์ มัธยฐาน การรอดชีพที่อยู่ที่ 82 สัปดาห์ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการอยู่รอดแบบหลายตัวแปรแสดงให้เห็นว่า อายุ (HR 1.01 , 95%CI: 1.01 -1.1, p-value = 0.01), เซรั่มอัลบูมิน (HR 0.13, 95%CI 0.05-0.34, p-value = < 0.01), ค่าดัชนีมวล กาย (HR 0.87, 95%CI 0.81-0.95, p-value = < 0.01) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตระยะสั้นของผู้ป่วยล้างไตทาง หน้าท้อง ข้อสรุป : อายุ เซรั่มอัลบูมิน ค่าดัชนีมวลกายปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ใน 1 ปี ของผู้ป่วยไตวายที่รับการรักษา ด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ในการศึกษาครั้งต่อไปอาจมีการเก็บขนาดตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น ตัวชี้วัดพื้นฐานทางคลินิกที่ ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อความแม่นยำของการพัฒนารูปแบบการพยากรณ์โรคซึ่งอย่างไรก็ตามการพยากรณ์โรคที่มี ประสิทธิภาพ
References
Chen N, Wang W, Huang Y, Shen P, Pei D, Yu H, et al. Community-based study on CKD subjects and the associated risk factors. Nephrol Dial Transplant. 2009;24(7):2117–23.
American kidney fund. DISEASE Leading Causes of Kidney Failure [Internet]. 2012. Available from: http://www.kidneyfund.org/assets/pdf/kidney-disease-statistics.pdf
Gilbertson D, Ishani A, Kasiske BL, Liu J. Excerpts From the US Renal Data System 2009 Annual Data Report. 2011;55(suppl 1):2010–1.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. ข้อมูลสถิติ. 2557.
Sakthong P, Kasemsup V. Health utility measured with EQ-5D in Thai patients undergoing peritoneal dialysis. Value Heal [Internet]. 2012;15(1 SUPPL.):S79–84. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jval.2011.11.005
วิชช์ เกษมทรัพย์, ภูษิต ประคองสาย วต. ความต้องการงบประมาณสำหรับ การเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. 2549;12(2):136–46.
Hsieh YP, Chang CC, Wen YK, Chiu PF, Yang Y. Predictors of peritonitis and the impact of peritonitis on clinical outcomes of continuous ambulatory peritoneal dialysis patients in Taiwan 10 years’ experience in a single center.
Perit Dial Int. 2014;34(1):85–94.
PrateepDhanakijcharoen, DhaveeSirivongs, SurapolAruyapitipan, PiyatidaChuengsaman AL. The “PD First” policy in Thailand: three years experiences (2008-2011). J Med Assoc Thai. 2011;94(suppl4):S153–S161.
Sakacı T, Ahbap E, Koc Y, Basturk T, Ucar Z, Sınangıl A, et al. Clinical outcomes and mortality in elderly peritoneal dialysis patients. Clinics. 2015;70(5):363–8.
Ye H, Zhou Q, Fan L, Guo Q, Mao H, Huang F, et al. The impact of peritoneal dialysis -related peritonitis on mortality in peritoneal dialysis patients. BMC Nephrol. 2017;18(1):1–9.
Tian Y, Xie X, Xiang S, Yang X, Zhang X, Shou Z, et al. Risk factors and outcomes of high peritonitis rate in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients: A retrospective study. Med (United States). 2016;95(49):e5569.
รัชนี เชี่ยวชาญธนกิจ. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2553;7(1):1–12.
Zhang F, Liu H, Gong X, Liu F, Peng Y, Cheng M, et al. Risk factors for mortality in Chinese patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Perit Dial Int. 2015;35(2):199–205.
Lobbedez T. Original Article Early failure in patients starting peritoneal dialysis : a competing risks approach. 2014;(September 2013):2127–35.
TEIXEIRA, J. Pedro; COMBS, Sara A.; TEITELBAUM, Isaac. Peritoneal dialysis: update on patient survival. Clinical nephrology, 2015, 83.1: 1.
CAO, Xue-Ying, et al. Predicting one-year mortality in peritoneal dialysis patients: an analysis of the China Peritoneal Dialysis Registry. International journal of medical sciences, 2015, 12.4: 354.
SANCHEZ, A. Ramos; MADONIA, C.; RASCON-PACHECO, R. A. Improved patient/techniquesurvival and peritonitis rates in patients treated with automated peritoneal dialysis when compared to continuous am bulatory peritoneal dialysis in a Mexican PD center.Kidney International, 2008, 73: S76-S80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ