เปรียบเทียบการเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการรักษา โดยใช้และไม่ใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
การติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อและอัตราตายในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ได้รับการรักษาโดยใช้และไม่ใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลนครพนม ในหอ ผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองนี้ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ถูกรับไว้รักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลนครพนมและได้รับการวินิจฉัยว่าที่ติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) จำนวน 60 ราย ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 31 มีนาคม 2560 โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วย Sepsis ที่ได้รับดูแล ตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลนครพนมที่พัฒนาขึ้นโดยทีมดูแลและพัฒนา กระบวนการการดูแลผู้ป่วยด้านอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพนม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2560 จำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วย Sepsis ได้รับการดูแลแบบปกติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2559 โดยทำการทบทวนข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน จำนวน 30 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ Chi-square test และ Fisher’s exact test เพื่อ เปรียบเทียบการเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อและอัตราตายของผู้ป่วย Sepsis ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ใช้แนวทางการดูแลรักษาส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 53.3 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 76.7 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 36.7 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ร้อยละ 63.3 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 83.3 ครึ่งหนึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร การเกิดภาวะ ช็อกจากการติดเชื้อ ร้อยละ 56.70 และอัตราตายร้อยละ 33.30 ในกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ และเกิดภาวะจาก การติดเชื้อ ร้อยละ 3.30 และอัตราตาย ร้อยละ 0.0 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษา โดยการ เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อและอัตราตายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001, และ p < 0.001 ตามลำดับ)
ข้อสรุป : การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรง พยาบาลนครพนมทำเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อแตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางทางการดูแล รักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้นควรมีการใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาล นครพนมในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดต่อไป
References
Rudd KE, Kissoon N, Limmathurotsakul D, et al. The global burden of sepsis: barriers and potential solutions. Crit Care. 2018; 22(1): 232-232.
Office NHS. Annual Report – Building National Health Security, FY2017. Bangkok, Thailand: National Health Security Office; 2018.
Strategy and Planning Division OotPS, Ministry of Public Health Thailand. Twenty-Year National Strategic Plan for Public Health (2017-2036)-First Revision 2018. 2018.
กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ. แผนพัฒนาระบบ บริการสุขภาพ สาขาโรคติดต่อ เขตบริการสุขภาพ ที่ 8. In: กระทรวงสาธารณสุข, อุดรธานี; 2558.
ศุภโชค เข็มลา. สรุปผลการดำเนินงาน Service plan ด้านการติดเชื้อในกระแสเลือดในจังหวัดนครพนม. 2562.
ศุภโชค เข็มลา. แนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ในกระแสเลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อใน กระแสเลือดของโรงพยาบาลนครพนม. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2556.
ศุภโชค เข็มลา. อัตราการตายภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic Shock ภายหลังการให้ สารน้ำปริมาณไม่เกิน 1,500 มิลลิลิตรเปรียบเทียบ กับการให้สารน้ำปริมาณมากกว่า 1,500 มิลลิลิตร. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2561; 5(2 (พฤษภาคม-สิงหาคม)): 4-14.
Rivers EP, McIntyre L, Morro DC, Rivers KK. Early and innovative interventions for severe sepsis and septic shock: taking advantage of a window of opportunity. CMAJ : Canadian Medical Association journal = journal de l’Association medicale canadienne. 2005; 173(9): 1054-1065.
Permpikul C, Tongyoo, S., & Akekarin, P. In-hospital outcome of septic shock patients after guideline directed management implementation: The significance of initial volume replacement. Paper presented at: Proceedings of Siriraj-Ramatibodi Medical Congress to commemorate the 60th Anniversary Cerebration of His Majesty’s Accession to the Throne2006; Bangkok.
Rivers E, Nguyen B, Havstad S, et al. Early Goal-Directed Therapy in the Treatment of Severe Sepsis and Septic Shock. New England Journal of Medicine. 2001; 345(19): 1368-1377.
Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. ed. New York: Academic Press; 1977.
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. แนวทาง เวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะ sepsis และ septic shock. เชียงราย: โรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์; 2562: http://49.231.15.21/deptw1/upload/files/medF256210231554379030.pdf.
Ruth Kleinpell LA, Christa A. Schorr. Implications of the New International Sepsis Guidelines for Nursing Care. Am J Crit Care 2013; 22(3): 212–222
Yann-Erick Claessens J-FD. Diagnosis and treatment of severe sepsis. Crit Care. 2007;11(5):S2.
Gaieski DF, Mikkelsen ME, Band RA, et al. Impact of time to antibiotics on survival in patients with severe sepsis or septic shock in whom early goal-directed therapy was initiated in the emergency department. Critical care medicine. 2010; 38(4): 1045-1053.
Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Critical care medicine. 2013; 41(2): 580-637.
Sitanshu Sekhar Kar AR. IS 30 THE MAGIC NUMBER? ISSUES IN SAMPLE SIZE ESTIMATION. National Journal of Community Medicine. 2013; 4(1 (Jan-Mar)): 175-179.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ