ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • ชฎารัตน์ ภูโอบ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการปฏิบัติ, ปอดอักเสบ, การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ สัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องของพยาบาล และอุบัติการณ์ของการ เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกัน ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและ หลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest design) ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม ระยะ เวลาในการศึกษาวิจัย 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างในการ ศึกษา 2 กลุ่ม คือ พยาบาล จำนวน 16 คน และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยไม่มีปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วย หายใจ จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัย ประกอบด้วย แผนการอบรมและคู่มือเรื่องการปฏิบัติในการ ป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ บอร์ดแสดงผลการให้ข้อมูลย้อนกลับ โปสเตอร์เตือน และอุปกรณ์ สนับสนุน ได้แก่ หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ในการทำความสะอาดมือ และอุปกรณ์วัดองศาเตียง เครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับพยาบาล แบบวัดความรู้ในการป้องกันปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาล และแบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อใน โรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนความรู้และสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้อง ก่อนและหลังส่งเสริมการปฏิบัติด้วยสถิติ Paired t-test และไคสแควร์ตามลำดับ และใช้ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ ในการ เปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนและหลังส่งเสริมการปฏิบัติ

ผลการศึกษา : ภายหลังการส่งเสริมปฏิบัติ พยาบาลมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ย 11.31 คะแนน เป็น 17.06 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) สัดส่วนในการปฏิบัติที่ถูกต้องในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.06 เป็นร้อยละ 75.11 โดยเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และอุบัติการณ์ของการเกิด ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 18.29 ครั้ง เป็น 5.43 ครั้งต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ (RR =5.17, 95% CI:2.17-11.54)

ข้อสรุป : การส่งเสริมการปฏิบัติโดยใช้กลยุทธ์หลายวิธี เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการ ใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงควรส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องในหอผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ

References

Centers for Disease Control and Prevention. Pneumonia (Ventilator-associated [VAP] and non-ventilator-associated Pneumonia [PNEU]) Event. 2017 [cited 2019 Aug 23]. Available from: https://www.cdc.gov/nhsn/PDFs/pscManual/6pscVAPcurrent.pdf

National Nosocomial Infection Surveillance (NNIS). System Report, data summary from January 1992 through June 2004. AJIC 2004;32:470-485.

Bouadma L, Mourvillier B, Deiler V, Le Corre B, Lolom I, Régnier B, et al. A multifaceted program to prevent ventilator-associated pneumonia: impact on compliance with pre ventive measures. Crit Care Med 2010;38(3) :789-96.

Keyt H, Faverio P, Restrepo M. Prevention of ventilator-associated pneumonia in the inten sive care unit: A review of the clinically rele vant recent advancements. Indian J Med Res 2014;139(6):814–821.

Adams AE, White CL, Kennedy GT. Implementing an evidence-based intervention to improve care for ventilator-dependent residents in a nursing home facility. Clinical Nursing Studies 2015;3(2):109-114.

ศิรินาฏ สอนสมนึก, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, สุปรีดา มั่นคง. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อ ป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วย หายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ. รามาธิบดี พยาบาลสาร 2560;23(3):284-297.

Schleder BJ. Taking charge of hospital-acquired pneumonia. Nursing Practitioner 2004;29(3):50-53. 8. เพ็ญศรี ละออ, รัตนา เอกจริยาวัฒน์. อุบัติการณ์และ ผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบของผู้ป่วยที่ใช้ เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลนครนายก. ว.วิจัยทาง วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553;4(1):9-18.

Gadani H, Vyas A, Kar AK. A study of ventila tor-associated pneumonia: Incidence, out come, risk factors and measures to be taken for prevention. Indian J Anaesth 2010;54(6): 535–540.

Bartlett JG. Management of Respiratory tract infection. 2nded. Pennsylvania Lippincott Williams & Wilkins; 2000.

Tablan OC, Anderson LJ, Besser R, Bridges C, Hajjeh R. Guidelines for preventing health-care-associated pneumonia, 2003 rec ommendations of the CDC and the healthcare infection control practices advisory committee. Reapiratory Care;49(8):926-939.

American Association of Critical-Care Nurses. AACN Practice Alert: Ventilator Associated Pneumonia. AACN Advanced Critical Care 2005. P. 105-9.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Patient Safety Goal : SIMPLE. นนทบุรี: สถาบัน พัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.); 2551.

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล และดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอด อักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนก อายุรกรรม. ว.วิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(1):25-42.

นวลสวาท นภาสกุลคู. ผลของการใช้ WHAPO ต่อ อัตราการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง ช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท โรง พยาบาลหนองคาย ปี 2557. ว.โรงพยาบาลนครพนม 2557;1(3):116-22.

Kaynar AM, Mathew JJ, Hudlin MM, Gingras DJ, Ritz RH, Jackson MR, et al. Attitudes of respiratory therapists and nurses about mea sures to prevent ventilator-associated pneu monia: a multicenter, cross-sectional survey study. Respir Care 2007;52(12):1687-94.

Cason CL, Tyner T, Saunders S, & Broome L. Nurses’ Implementation of Guidelines for Ventilator-Associated Pneumonia From the Centers for Disease Control and Prevention. American journal of critical care 2007;16(1):28-37.

จันทร์ทิรา เจียรณัย และศรัญญา จุฬารี. พฤติกรรม การพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2555;3(3):16-27.

พนิดา กาวินำ, ทองปาน เงือกงาม และศรีสุดา อัศวพลังกูร. ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการใช้ แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอด อักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. ว.กองการ พยาบาล. 2560;44(3):34-57.

ชวิกา มีสวัสดิ์. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติการ พยาบาลตามแนวทางปฏิบัติควบคุมการติดเชื้อเพื่อ ป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. ว.สาธารณสุขมูลฐานภาคใต้. 2562;33(4):16-23.

GREEN LW, KREUTER MW. Health program planning: an educational and environmental. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 2005.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ธีระป้อมวรรณกรรม; 2544.

Slovensky DJ, Paustian PE. Training the adult learner in health care organizations. Guide to effective staff development in health care organizations, New York;2002.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2532.

ภาวิดา เล็กวุฒิกรณ์. ผลของการสอนด้วยสื่อประสม ต่อความรู้และการปฏิบัติของบุคลากรพยาบาลในการ ป้องกันปอดอักเสบ และอุบัติการณ์การเกิดปอด อักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. จุลสารชมรม ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2554;21(1):4-17.

Schneider N. Gallego E. Fracaro M. The Use of Video in Infection Control. AJIC 2004;32(3):E129.

Zack JE, Garrison T, Trovillion E, Clinkscale D, Coopersmith CM, Fraser VJ, et al. Effect of an education program aimed at reducing the occurrence of ventilator-associated pneumo nia. Crit Care Med. 2002;30(11):2407-12.

Feet DDV, and Peterson TO. Contemporary management. 3rd ed. Boston:Houghton Miffin;1994.

Adams AE, White CL, and Kennedy GT.Imple menting an evidence-based intervention to improve care for ventilator-dependent residents in a nursing home facility. Clinical Nursing Studies 2015;3(2):109-114.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า และณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วย อายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ. Nursing Journal 2015;42:95-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-30