ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • กนกกานต์ วิเศษไชย กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางคลินิก, การจัดการความปวด, ห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดในหอผู้ป่วยหลังผ่าตัด ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลนครพนม วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน หลัง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องจำนวน 30 คน และวิสัญญีพยาบาลจำนวน 21 คน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา: ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดสอบ คือ แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดด้วยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (Numeric Rating Scale: NRS) แบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้ป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ paired t-test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเมื่อแรกรับที่ห้องพักฟื้นมีระดับความรุนแรงของความปวดในระดับมาก (ร้อยละ 43.33) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.33) และระดับน้อย (3.04) หลังการจัดการความปวดก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย ความ ปวดลดลงอยู่ในระดับน้อย (0-3 คะแนน) (ร้อยละ 100.00) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความปวดเมื่อแรกรับและก่อน ส่งกลับหอผู้ป่วย พบว่า ความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการดูแลในการ จัดการความปวดในระดับมากที่สุด (png.image?\dpi{110}%20\bar{x}=4.83) วิสัญญีพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (png.image?\dpi{110}%20\bar{x}=4.86)

บทสรุป: ผลการศึกษาสามารถยืนยันประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

References

อิศวรภรณ์ พันวี, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ ปินโอเซ็น. สถานการณ์การจัดการความปวดในห้องพักฟื้น สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก วารสารบำนาศนราดูร. 2555; 6(2): 87-97.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่ง ประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน หลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ม.ป.ท; 2554.

รัดดา กำหอม, มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง, กชกร พลาชีวะ, พิกุล มะลาไสย์. การดูแลผู้ป่วย ที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นตาม แผนภูมิการระงับปวดที่กำหนดขึ้น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 16(4): 251-6.

National Health and Medical Rescarch Council [NHMRC]. A juideline to the development, Implementation and evaluation of Practice guideline. [internet]. 1999 [Cited 2018 July I. Arailable from URL:http://www.health.gov.au/nhmrc/publication/pdf/cp.30.

Melzack, R., & Katz, J. Pain measurement in person’s in pain. In P.D. Wall, & R. Melzack (Eds), Text book of pain. London: Harcount Publisher; 1999.

ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์ & มาลินี อยู่ใจเย็น. การพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วย หลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลนครพนม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2557; 30(1): 86-98.

เสาวนันทา เลิศพงษ์ & นงลักษณ์ สุรศร. การศึกษา ผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้อง พักฟื้นในกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557; 29(2): 93-101.

เสาวนีย์ เกิดปากแพรก & สุชาดา วิภวกานต์. การจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่ง อักเสบแตก ในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญี โรงพยาบาล กระบี่. Krabi Medical Journal 2562; 2(1): 15-26.

เสาวนิตย์ กมลวิทย์ & ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการ ความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง วารสารกองการพยาบาล 2557; 41(2): 23-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30