การลดการเกิด Seroma หลังการผ่าตัด Modified radical mastectomy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดยวิธี Flap fixation ร่วมกับการวาง Close suction drainage โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • นทวรรณ หุ่นพยนต์ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

Modified radical mastectomy, ภาวะน้ำเหลืองคั่ง, มะเร็งเต้านม, Flap fixation

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่ง (Seroma formation) หลังการผ่าตัด modified radical mastectomy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิง ระหว่างการใช้เทคนิค Flap fixation ร่วมกับการวาง Close suction drainage กับเทคนิคการวาง Close suction drainage เพียงอย่างเดียว

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ Efficacy research-retrospective Cohort study ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพศหญิงที่เข้ารับการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี modified radical mastectomy จากศัลยแพทย์คนเดียวกัน ณ โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนมิถุนายน 2559-ธันวาคม 2562 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง ผู้ป่วย ที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 76 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Flap fixation ร่วมกับการวาง close suction drainage จำนวน 38 ราย (ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1) และ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการวาง close suction drainage เพียงอย่างเดียว 38 ราย (ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่ง จำนวนวันในการคาสายระบายและค่าใช้จ่ายในการนอน โรงพยาบาลด้วย t-test และ Fisher’s extract test

ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปทางคลินิกของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Flap fixation ร่วมกับการวาง Close suction drainage นั้น ไม่มีผู้ป่วยรายใดเกิดภาวะ seroma ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการ ผ่าตัดโดยวาง Close suction drainage เพียงอย่างเดียว เกิด seroma จำนวน 15 ราย คิดเป็น 39.5% แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) จำนวนวันในการคาสายระบายของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 เฉลี่ย 8.3 วัน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5 วัน) และของผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 เฉลี่ย 11.7 วัน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2 วัน) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 เฉลี่ย เท่ากับ 28,525.5 บาท (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3,156.1 บาท) และผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 เท่ากับ 30,711.4 บาท (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3,501.3 บาท) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.006)

ข้อสรุป: การผ่าตัดด้วยวิธี Flap fixation ร่วมกับการวาง Close suction drainage สามารถลดอัตราการเกิด seroma ได้ดีกว่าการวาง close suction drainage เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนวันในการคาสายระบาย และค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ดังนั้นควรนำเทคนิคการผ่าตัดแบบ Flap fixation ร่วมกับการวาง close suction drainage มาประยุกต์ใช้เพื่อลดการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม

References

Erum N, Rakhshanda R, Shaista Z. Effect of flap fixation technique in modified radical mastectomy on incidence of postoperative seroma formation. JPCSP 2019; 29:410-413.

Muhammad R, Suyatno P, Comparison of total seromas between modified radical mastectomy (MRM) with and without skin flap fixation at Dr H. Malik hospitoal Medan Indonesia. Bali Med J 2017; 6: 357-362.

Madhu BS, Navee KRM, Shashi KHB, Sangeetha K, Abilash VR, Subramanya SM. A randomized controlled trial evaluating the efficacy of mastectomy flap quilting sutures in reducing post modified radical mastectomy seroma formation. Int Surg J 2017; 4: 714-718.

J.van Bastelaar, R Granzier, L.M van Roozendaal, G. Beets, C.D. Dirksen, Y. Vissers. A multi-center, double blind randomized controlled trial evaluating flap fixation after mastectomy using sutures or tissue glue versus conventional closer: protocol for the seroma reduction after mastectomy (SAM) trial. BMC Cancer 2018; 18: 830.

Raghavendra RT, Sushanto N, Role of flap fixation during modified radical mastectomy in locally advance breast carcinoma patients: a randomized control study. Int Surg J 2019; 6: 4465-4470.

Almond LM, Khodaverdi L, Kumar B, Coveney EC. Flap anchoring following primary breast cancer surgery facilities early hospital dis charge and reduces cost. Breast care 2010; 5: 97-101.

วุฒิดนัย ประสงค์ธรรม. การป้องกันการเกิด seroma หลังผ่าตัด modified radical mastectomy โดย axillary padding technique. วารสารศูนย์ การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาล พระปกเกล้า 2559; 33: 210-217.

กริช โพธิสุวรรณ, อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. How I do it? Modified radical mastectomy. ใน วิบุล สัจกุล, สรรชัย กาญจนลาภ, วัฒนา สุพรหมจักร, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 17. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2542. หน้า 39-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30