ผลของการใช้ Lactobacillus acidophilus รวมกับ Bifidobacterium bifidum ในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • สุวีณา สุพร กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเด็ก, อุจาระร่วงเฉียบพลัน, โพรไบโอติก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของ Lactobacillus acidophilus รวมกับ Bifidobacterium bifidum ในการช่วย ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วง เฉียบพลัน อายุ 1 เดือน ถึง 60 เดือน ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง ได้โพรไบโอติก ชนิดแคปซูล (Lactobacillus acidophilus รวมกับ Bifidobacterium bifidum) และกลุ่มควบคุม ไม่ได้โพรไบโอติก ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการรักษาอื่นตามมาตรฐาน ทำการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และผลการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่ทำการศึกษา จำนวน 154 ราย ได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไปทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน จำนวนวันนอนโรงพยาบาลกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมเฉลี่ย 1.68 วัน และ 1.79 วัน (p=0.547) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่ารักษาขณะนอนโรงพยาบาล กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเฉลี่ย 2,662 บาท และ 2,495 บาท (p=0.338) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน กลุ่มทดลองที่ได้โพรไบโอติก (Lactobacillus acidophilus รวมกับ Bifidobacterium bifidum) มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

References

World Health Organization 2017. Diarrhoeal disease (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs330/en/ [6 เมษายน2561]

GBD 2016 Diarrhoeal Disease Collaborators. Estimate of the global, regional, and national morbidity, mortality, and aetiologies of diarrhoea in 195 countries: a systematic analysis for Global Burden of Disease Study 2016. Lancet Infect Dis 2018; 18: 1211-28 3. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพ กรมควบคุมโรค 2561. เตือนผู้ปกครองให้ ดูแลเด็กเล็กเสี่ยงป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงจากไวรัส โรต้า ชี้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีโอกาสป่วยซ้ำได้หลาย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.risk comthai.org/2017/detail.php?id=36783 [7เมษายน2561]

Stockmann C, Pavia AT, GrahamB, Vaughn M, Crisp R, Poritz MA, et al. Detection of 23 Gastrointestinal Pathogens Among Children Who present with diarrhea. Journal of the Pediatric Infectious Diseases Society 2017; 6(3): 231-8

Schnadower D, Tarr PI, Casper TC, Gorelick MH, Dean JM, O’Connell KJ, et al. Lactoba cillus rhamnosus GG versus Placebo for Acute Gastroenteritis in children. N Engl J Med 2018; 379(21): 2002-2014

World Health Organization 2005. THE TREATMENT OF DIARRHOEA, A manual for physicians and other senior health workers (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43209/9241593180.pdf;jsessionid=452E60499265369C504B54C 863409CA1?sequence=1 [5 เมษายน2561]

Florez ID, Veroniki AA, Al Khalifah R, YupesNunez JJ, Seirra JM, Veronij RWM, et al. Comparative effectiveness and safety of interventions for acute diarrhea and gastro enteritis in children: A systematic review and network meta-analysis. PLoS One 13(12): e0207701. https://doi.org/10.137/journal.pone.0207701

สุภัจฉรา นพจินดา. โพรไบโอติกส์กับการส่งเสริม สุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก 2014; 15:(430-435)

Abedini M, Hejri GM, Delpisheh A, Rasouli MA, Afkhamzadeh A. Effect of probiotic treatment on acute diarrhea in childhood. Journal of Food Safety and Hygiene 2015; 1:78-82.

Kianifar HR, Farid R, Ahanchian H, Jabbari F, Moghiman T, Sistanian A. Probiotics in the treatment of acute diarrhea in young children. Iran J Med Sci 2009; 34(3): 204-207

Rerksuppaphol S, Rerksuppaphol L. Lactobacillus acidophilus and Bifidobacterium bifidum store d at ambient temperature are effective in the treatment of acute diarrhea. Annals of Tropical Paediatrics 2010; 30: 299-304

Vivatvakin B, Kowitdamrong E. Randomized Control Trail of Live Lactobacillus Acidophilus plus Bifidobacterium infantis in treatment of infantile acute watery diarrhea. J Med Assoc Thai 2006; 89:126-133

Phavichitr N, Puwdee P, Tantibhaedhyangkul R. Cost-benefit analysis of the probiotic treatment of children hospitalized for acute diarrhea in Bangkok, Thailand. Southeast Asian J Trop Med public health 2013; 44:1065-1071

Nixon AF, Cunningham SJ, Cohen HW, Crain EF. The Effect of Lactobacillus GG (LGG) on Acute Diarrheal Illness in Pediatric Emergency Department (PED). Pediatr Emerg Care 2012; 28(10); 1048-1051

Chau TTH, Chau NNM, Le NTH, The HC, Vinh PV, To NTN, et al. A Double Blind, Randomized, Placebo-Controlled Trial of Lactobacillus acidophilus for the Treatment of Acute Watery Diarrhea in Vietnamese Children. Pediatr Infect Dis J 2018; 37(1): 35-31

Guarino A, Ashkenazi S, Gendrel D, Vecchio AL, Shamir R, Szajewska H. European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatologu, and Nutrition/European Society for Pediatric Infectious Disease Evidence -Based Guidelines for management of Acute Gastroenteritis in Children in Europe: Update 2014. J Pediatr Gastroenteri Nutr 2014; 59(1): 132-52

สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วง เฉียบพลันในเด็ก Clinical Practice Guideline for Acute Diarrhea in Children พ.ศ. 2562 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.pthaigastro.org/Document/hz0tpx1bdldozf11z5minfimCPG_Blue.pdf [25 เมษายน 2563]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30