ผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันโดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงษ์ ดำรงค์พิวัฒน์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, การรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด, ผลการรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด และ ภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีอาการมาภายใน 4.5 ชั่วโมงและได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินตั้งแต่ ตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2562 ประเมินคะแนนทางระบบประสาทโดยใช้ National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) ก่อนและหลังให้ยาละลายลิ่มเลือดด้วย student t-test ประเมินภาวะทุพพลภาพหลังการรักษา โดยใช้ Modified Rankin Scale (mRS) และติดตามภาวะไม่พึงประสงค์ในเรื่องเลือดออกผิดปกติ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ทั้งหมด 74 ราย พบว่าร้อยละ 52.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 63.36+11.91 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาล จนถึงให้ยาละลายลิ่มเลือด (Door to needle time) 68.23 นาที เมื่อเปรียบเทียบค่า NIHSS ก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือด หลังให้ยาละลายลิ่มเลือดที่ 24 ชั่วโมง ในวันที่จำหน่ายผู้ป่วย และวันที่มาติดตามการรักษา โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน2.55+8.18, 3.85+8.94 และ 6.56+5.29 คะแนนตามลำดับ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.009 P <0.001 และ P <0.001 ตามลำดับ ผู้ป่วยมีการตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โดยที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะทุพพลภาพหลงเหลือ mRS = 0 - 1 ในวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.5 และเพิ่มขึ้นในวันที่มาติดตามการรักษา 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.4 พบภาวะไม่พึงประสงค์จากการมีภาวะเลือดออกผิดปกติทั้งหมด 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.7 โดยพบภาวะเลือดออกในสมองแบบมีอาการ 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.2 เสียชีวิต 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.2

ข้อสรุป: การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด มีผลทำให้อาการทางระบบประสาทดีขึ้นและลดภาวะทุพพลภาพลงได้

References

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการ รักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการ ฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ. พิมพ์ครั้งที่ 1;2549.

Walter J, Oyere O, Mayowa O, Sonal S. Stroke : a global response is needed [online] 2016 [cited 2020 May 2]. Available from: URL : https://www.who.int/bulletin/volumes/94/9/16-181636/en/

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2558.

สำนักนโยบายพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์; 2558.

Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: 2019 update to the 2018 guidelines for the early management of acute ischemic stroke. Stroke 2019 Dec;50(12):e344-e418.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, ธน ธีระวรวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ clinical practice guideline for ischemic stroke. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2562.

National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med 1995; 333:1581-7.

Hacke W, Kaste M, Fieschi C, von Kummer R, Davalos A, Meier D, et al. Randomised double-blind placebo-controlled trial of thrombolytic therapy with intravenous alteplase in acute ischaemic stroke (ECASS II). Second European-Australasian Acute Stroke Study Investigators. Lancet. 1998; 352:1245-51.

Wardlaw JM, Murray V, Berge E, del Zoppo G, Sandercock P, Lindley RL, et al. Recombinant tissue plasminogen activator for acute isch aemic stroke: an updated systematic review and meta-analysis. Lancet. 2012; 379:2364-72.

Scheitz JF, Endres M, Heuschmann PU, Audebert HJ, Nolte CH. Reduced risk of poststroke pneumonia in thrombolyzed stroke patients with continued statin treatment. Int J Stroke. 2015; 10:61-6.

Liao X, Ju Y, Liu G, Zhao X, Wang Y, Wang Y. Risk factors for pressure sores in hospitalized acute ischemic stroke patients. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2019;

Wahlgren N, Ahmed N, Dávalos A, Ford GA, Grond M, Hacke W, et al. Thrombolysis with alteplase for acute ischaemic stroke in the Safe Implementation of Thrombolysis in Stroke-Monitoring Study (SITS-MOST): an ob servational study. Lancet. 2007; 369:275-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30