ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
การพลัดตกหกล้ม, โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุในชุมชนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลตองโขบ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 - เดือนสิงหาคม 2563
วัสดุและวิธีการศึกษา : คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติจำนวน 50 ราย สุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากเข้ากลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม จำนวน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที กลุ่มควบคุมดูแลตนเองตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป โปรแกรม ป้องกันการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ผู้วิจัยขออนุญาตใช้ของฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และคณะ (2560) มีค่าความตรง และความเชื่อมั่นของเนื้อหาเท่ากับ .85 และ.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้และ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) อัตราการ พลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรม ( = 1.04, S.D = 0.20) ภายใน 90 วัน ต่ำกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับโปรแกรม ( = 1.20, S.D = 0.41) ข้อสรุป : ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมมีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ คัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแล สุขภาพ. 35(3) : 186-195.
นงนุช วรไธสง. (2551). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ หกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เปรมกมล ขวนขวาย. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
พิมวรินทร์ ลิ้มสุขสันต์. (2551). ปัจจัยทำนายการเกิด การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ภาวดี วิมลพันธุ์ และขนิษฐา พิศฉลาด. (2556). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 3 (23) : 98-109.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร ทีคิวพี.มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553.กรุงเทพมหานคร ทีคิวพี.
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. (2555). การสนับสนุนของ ครอบครัวในการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขน สำหรับผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลทหารบก. 13(2): 1-7.
ลัดดา เถียมวงศ์, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล และสุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). ปัจจัยเสี่ยงของการหกล้มของ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารพฤฒาวิทยาและ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, ปีที่ 2 : 46-52.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข.(2551). แนวทางการปฏิบัติการป้องกัน/ ประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร ซีจี ทูล.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลประชากร กลางปี. [อินเตอร์เน็ต]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/ข้อมูลประชากรกลางปี.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุป้องกันได้ ด้วยการประเมินและจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2561
สุรีย์พร ตรียาวุฒิวาทย์. (2534). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการเกิดอุบัติเหตุในบ้านของผู้สูงอายุในชุมชนย่อย เขตเทศบาลเมืองนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อนุชา เศรษฐเสถียร และดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์. (2552). ปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มแล้วกระดูกสะโพกหัก ของผู้สูงอายุที่รักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี. ลำปางเวชสาร. 30(3) : 154-162.
American Geriatrics Society. (2001). Guideline for the prevention of falls in older persons, Journal of the American geriatrics society. 49; 664-72.
Chapman, G.J, Hollands, M.A. (2006). Evidence for a link between changes to gaze behavior and risk of falling in older adults during adaptive Iocomotion, Gait Posture. 24 (3) : 288-94.
Center for Diseases Control and prevention. Preventing falls: how to develop communityBased falls prevention programs for older adults. National center for injury prevention and Control. Atlanta, Georgia; 2008.
Shumway-Cook et al. (2008). Predicting the Probability for Fall in Community-Dwelling Older Adult Using the Time Up & Go test. Physical Theraphy, 80, 896-903.
World Health Organization. Fact Sheet: Falls [Internet]. 2012. [Cited 2016 March 1]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs344/en/.
World Health Organization. Violence and Injury Prevention: Falls [Internet]. [Cited 2016 March 1]. Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention/other_injury/falls/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ