ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด จากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
metformin, ภาวะเลือดเป็นกรด, ผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนครพนม
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวาน ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาล นครพนม และได้รับการรักษาด้วยยา metformin ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2563 เครื่องมือ ในการวิจัย คือ แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา metformin เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา, แบบบันทึกการให้คำแนะนำ ผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับยา metformin, แบบบันทึกปัญหาที่เกี่ยวกับยา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ผลการปฏิบัติตามแนว ปฏิบัติของเภสัชกร โดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ เปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจาก ยา metformin ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ โดยสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับยา metformin ทั้งหมด จำนวน 5,073 ราย พบว่า 1) จากการทบทวนคำสั่งการใช้ยา metformin ของเภสัชกร พบคำสั่งใช้ยา metformin ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ 97 ครั้ง และคำสั่งใช้ยาที่มีขนาดยาไม่เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต 44 ครั้ง หลังจากเภสัชกรประสานกับแพทย์ ผู้สั่งใช้ยามีคำสั่งหยุดใช้ยา 92 ครั้ง (ร้อยละ 94.8) และปรับขนาดยา 40 ครั้ง (ร้อยละ 90.9) 2) อุบัติการณ์การเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา metformin หลังใช้แนวปฏิบัติลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยหลังใช้แนวปฏิบัติพบภาวะเลือดเป็นกรด 7 ราย (ร้อยละ 0.1) ลดลงจากก่อนใช้แนวปฏิบัติที่พบ 16 ราย (ร้อยละ 0.4)
ข้อสรุป : แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา metformin ช่วยลดอุบัติ การณ์การเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา metformin ได้ ควรขยายผลการใช้แนวปฏิบัตินี้ ให้ครอบคลุม โรงพยาบาล ชุมชนในจังหวัดนครพนม
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ สมาคมต่อมไร้ท่อ แห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทาง เวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน ปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.
Inzucchi SE, Bergenstal RM, Buse JB, Diamant M, Ferrannini E, Nauck M, et al.Management of hyperglycemia in type 2 diabetes, 2015: a patient-centered approach:update to a position statement of the American Diabetes Association and the European Association for the Study of Diabetes. Diabetes Care 2015;38(1):140-9.
ตระการ ไชยวานิช, เพ็ชรงาม ไชยวานิช, สมชาย ยงศิริ, รวีวรรณ วิฑูร. บทบาทของยีนMATE 1 ต่อการเกิดภาวะ เลือดเป็นกรดจากยา metformin ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2.Thai science and technology journal. 2016: 479-87.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ สมาคม ต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค เบาหวาน ปี 2557. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2557.
บุษบา จินดาวิจักษณ์, บรรณาธิการ. Diabetes education training program for pharmacist. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555 6. The American society of health-system pharmacists. Metformin Hydrochloride.[cite 2017 Aug 12]. Available from: https://www.drugs.com/sfx/metformin-side-effects.html.
Viollet B, Guigas B, Sanz Garcia N, Leclerc J, Foretz M, Andreelli F. Cellular and molecular mechanisms of metformin: an overview. Clin Sci (Lond) 2012 Mar; 122(6): 253-70.
Richy FF, Sabidó-Espin M, Guedes S, Corvino FA, Gottwald-Hostalek U. Incidence of lactic acidosis in patients with type 2 diabetes with and without renal impairment treated with metformin: a retrospective cohort study. Diabetes Care. 2014; 37: 2291-5.
DeFronzo R, Fleming GA, Chen K, Bicsak TA. Metformin-associated lactic acidosis: Current perspectives on causes and risk. Metabolism 2016; 65: 20-9.
van Berlo-van de Laar IR, Vermeij CG, Doorenbos CJ. Metformin associated lactic acidosis: incidence and clinical correlation with metformin serum concentration measurements. J Clin Pharm Ther 2011; 36: 376-82.
เฟื่องรักษ์ ร่วมเจริญ. ภาวะกรดในเลือดจากยา metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาใน โรงพยาบาลนครพนม ปี 2553-2556. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2558; 2: 337-46.
สถิติและเวชระเบียน โรงพยาบาลนครพนม. สถิติผู้ป่วยปี พ.ศ. 2559-2560. นครพนม: โรงพยาบาล นครพนม (เอกสารอัดสำเนา). 13. U.S. Food and Drug Administration, Safety alerts for human medical products. Metformin- containing drugs: drug safety communication-Revised warning for certain patients with reduced kidney function. [online]2016 [cite 2017 Aug 8]. Available from: https://www.fda.gov/media/96771/download.
American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2015.Diabetes care 2015; 38(1): S8-S58.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, อัจฉรา ชำนิประศาสน์. ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี การพิมพ์; 2547.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินการโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.
Wikawee Russameethum, The effect of high dose metformin on kidney function and the appropriate dose in renal impairment patients. Veridian E-Journal, Science and technology Silpakornuniversity. 2018: 139-148.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ