การเปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดแดงระหว่างการให้ออกชิเจนทางจมูก 30 นาที กับ 60 นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

ผู้แต่ง

  • นภัทร อินทร์ติยะ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด, การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, การพยาบาลผู้ป่วยห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด ระหว่างการให้ออกชิเจนทางจมูก 30 นาที กับ 60 นาที ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิผล รูปแบบ randomized controlled trial เก็บรวบรวม ข้อมูลแบบไปข้างหน้า prospective ที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 –ธันวาคม 2563 ในผู้ป่วยได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย จำนวน 160 ราย สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังผ่าตัดด้วยวิธี block of four randomization โดย opened envelope เข้ากลุ่มรูปแบบการให้ออกซิเจนในพักฟื้น 2 วิธี เป็นกลุ่มที่ได้รับออกซิเจน ทางจมูก 30 นาที 80 ราย และกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนทางจมูก 60 นาที 80 ราย ติดตามความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด ที่พักฟื้น 4 ครั้ง คือ นาทีแรกรับ นาทีที่ 15, 30, 45 และ 60 นาที ก่อนจำหน่ายออกจากห้องพักฟื้น ประเมินคะแนน ตามเกณฑ์จำหน่ายจากพักฟื้น

ผลการศึกษา : รูปแบบการให้ออกซิเจนในห้องพักฟื้นทางจมูก 30 นาที หลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย มีค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนาทีที่ 30 และ 60 ไม่แตกต่างเมื่อเทียบการให้ออกซิเจน 60 นาที ที่ระดับนัยสำคัญ 0.816 และ 0.143 ตามลำดับ และค่า upper bound of 95%CI ของ Mean oxygen saturation ratio น้อยกว่า 1.5 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 0.998 (95%CI = 0.537-1.376) การให้ออกซิเจน 30 นาที มีประสิทธิภาพในการรักษาระดับ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ด้อยกว่าการให้ออกซิเจน60 นาที สามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการให้ออกซิเจน ทางจมูกในการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายที่ห้องพักฟื้นได้

สรุป : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดโดยใช้วิธีระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย การให้ออกซิเจนหลังผ่าตัดเป็นระยะเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพในการรักษาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ด้อยกว่าการให้ออกซิเจน60 นาที สามารถ นำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการให้ออกซิเจนผู้ป่วยในห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัย

References

วิสัญญีสาร ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2557

กัญญา เดชอาคม พ.บ., อังศุมาศ หวังดี พย.บ., อัญชลา จิระกุลสวัสดิ์1 พย.บ., การพยาบาลผู้ป่วย ในห้องพักฟื้น Abstract: Nursing Care in the post anesthesia care unit Sukanya Dejarkom, Aungsumat Wangdee, Anchala

ปราณี ลิ้นฤาษี (สบ.), จุฑามาศ สมชาติ (พบ.วว.) กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลลาพูน บุญใจ ศรีสถิตย์นรางกูร.ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่5).กรุงเทพ:ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.2550.

ธนู หินทอง, ศิริลักษณ์ กล้าณรงค์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง และคณะ.Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine ,Chiang Mai University, Chiang Mai. Journal Medicine Associated Thai 2008;91 (10):1531-8

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตาม หลักฐานเชิงประจักษ์:หลักการและวิธีการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่4).กรุงเทพมหานคร:ฟรี-วัน. 2551. 6. อังกาบ ปราการรัตน์.วิสัญญีวิทยา ทันยุค: แนวทาง ปฏิบัติ. บริษัท วงศ์กมลโปรดักจำกัด.2554.

Aldrete JA. The post anesthesia recoveryscore revisited.J ClinAnesth.1995 ;7: 89-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31