ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์และผลการรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลหนองหาน (แม่ข่าย) และโรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์ (ลูกข่าย) จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
อาการไม่พึงประสงค์, ผลการรักษา, ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อหาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงและอาการไม่พึงประสงค์ที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาของผู้ป่วย ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2564 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน อายุ 18 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลหนองหาน (แม่ข่าย) และ โรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์ (ลูกข่าย) จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนและแบบสอบถาม ผู้ป่วย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, T-Test, stepwise linear regression
ผลการศึกษา : หลังพัฒนามีผลการรักษาและปัจจัยเสี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 มากที่สุดคือ INR ค่าต่างร้อยละ 25.9 HbA1C ร้อยละ 16.9 และ HDL ร้อยละ 8.8 คะแนนปัจจัยเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ได้แก่ เพศหญิง ร้อยละ 57.1 โรคเบาหวาน ร้อยละ 65.3 ความ ดันโลหิตสูง ร้อยละ 65.2 ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดออก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90.9 โรคหลอดเลือด สมอง ร้อยละ 76.5 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 34.9 ภาวะเลือดออกรุนแรงจากการใช้ยาวาร์ฟารินลดลง ร้อยละ 61.0 ไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง ไม่มีประจำเดือนมากผิดปกติ ร้อยละ 88.0 และภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ร้อยละ 61.1 ยาที่ใช้ร่วมกันทำให้ลดฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน คือ Dicloxacillin ร้อยละ 89.1, Carbamazepine ร้อยละ 70.4, Phenobarbital ร้อยละ 45.7 ยาที่เพิ่มฤทธิ์วาร์ฟาริน คือ Amiodarone, Bactrim, Gatifloxacin ร้อยละ 100, พบอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด ร้อยละ 67.0 เลือดออกตามไรฟัน ร้อยละ 66.9 ภาวะเลือด ออกผิดปกติ ร้อยละ 62.7 แต่ไม่พบความแตกต่างของการมีจ้ำเลือดตามตัว การปฏิบัติตนเองของผู้ป่วย ได้แก่ พกบัตร ประจำตัวร้อยละ 99.2 ลืมรับประทานยา ร้อยละ 92.5 เกิดอุบัติเหตุมีบาดแผล ร้อยละ 86.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวม ต่อผลการรักษาจากค่า INR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ร้อยละ 91.6 (R2Adj.=0.916, p<0.001) มีจำนวน 6 ปัจจัยจากทั้งหมด 15 ปัจจัย เรียงอิทธิพลมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน การปฏิบัติ ตนเองของผู้ป่วย อันตรกิริยาระหว่างอาหารกับยา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมุนไพร/อาหารเสริม ความดันโลหิต ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดออก ตามลำดับ
ข้อสรุป : ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงสูงต่อความรุนแรง แต่ไม่พบภาวะเลือดออกระหว่าง ใช้ยา ผลการพัฒนาส่งผลให้มีค่า INR ในเป้าหมาย
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ข้อมูล รายงานบริการผู้ป่วยที่ Warfarin clinic. โรงพยาบาลอุดรธานี, 2563.
โรงพยาบาลพิบูลย์รักษ์. เวชระเบียนผู้ป่วย Warfarin clinic และระบบข้อมูลอิเลคโทรนิคโรงพยาบาล พิบูลย์รักษ์, 2563.
โรงพยาบาลหนองหาน. เวชระเบียนผู้ป่วย Warfarin clinic และระบบข้อมูลอิเลคโทรนิคโรงพยาบาล หนองหาน, 2563.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 2560: 496-507.
สุรีรัตน์ สุวัชรังกูร. Roles of New Oral Anticoagulants in Stroke Patients with Nonvalvular Atrial Fibrillation. หน่วยประสาท วิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. J Thai Stroke Soc. 2016; 15 (2): 105-112.
โรงพยาบาลศิริราช. ความรู้การปฏิบัติตนของผู้ป่วย ที่ได้รับยาวาร์ฟาริน, 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 จาก https://www.si.mahidol.ac.th
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาป้องกัน การแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2557. สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2564 จาก http://www.thaiheart.org
มรกต ภัทรพงศ์สินธุ์. การเปรียบเทียบผลการรักษา ผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลชัยภูมิ และโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558; 5(2): 113-119.
นิตย์สุภา วัฒนชัย, สุทธิดา แก้วมุงคุณ. เภสัชวิทยา และปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของยาวาร์ฟาริน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(2): 189-99.
Perez MM, Gaist D, Abajo FJ, Rodríguez LAG. Predictors of Over-Anticoagulation in Warfarin Users in the UK General Population: A Nested Case–Control Study in a Primary Health Care Database. Thromb Haemost 2019; 119(01): 066-076.
Perez MM, Gaist D, Abajo FJ, Rodríguez LAG. Population Impact of Drug Interactions with Warfarin: A Real-World Data Approach. Thromb Haemost 2018; 118(03): 461-470.
อภิชาติ จิตต์ซื่อ, สุวิมล ยี่ภู่, ตุลยา โพธารส, จันทรัสม์ เสกขุนทด, ปิยะนุช ทิมคร. การศึกษาความรู้ของ ผู้ป่วยและปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ณ แผนก ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2558; 33(2): 83-92.
Wiley KC, Maneno MK, Beach YM, Daftary M. Effect of Patient Characteristics, Knowledge and Satisfaction with Warfarin Therapy on Willingness to Switch to a New Oral Anticoagulant. Health Syst Policy Res. 2016; 3(3): 1-8.
Zhao S, Zhao H, Wang X, Gao C, Qin Y, Cai H, Chen B, Cao J. Factors influencing medication knowledge and beliefs on warfarin adherence among patients with atrial fibrillation in China. Patient Preference and Adherence 2017;11: 213–220.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. แนวทาง เวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ในประเทศไทย, 2560. กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 จาก http://www.thaiheart.org.
Ma Z, Cheng G, Wang P, Khalighi B, Khalighi K. Clinical Model for Predicting Warfarin Sensitivity. Scientific Reports 2019; 9: 856-865.
Wang X, Xu B, Liang H, Jiang S, Tan H, Wang X. Distribution characteristics and factors influencing oral warfarin adherence in patients after heart valve replacement. Patient Preference and Adherence 2018; 12: 1641–1648.
Rose AE, Robinson EN, Premo JA, Hauschild LJ, Trapskin PJ, McBride AM. Improving Warfarin Management Within the Medical Home: A Health-System Approach. The American Journal of Medicine 2017; 130: 365-371.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ