แนวทางการตรวจคัดกรองโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนดของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับใช้ในประเทศไทยจริงหรือ

Main Article Content

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
ศุภชัย กิจศิริไพบูลย์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาอายุครรภ์ อายุทารก และนำ้หนักแรกเกิดของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เหมาะสมในการเลือกตรวจคัดกรองโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีโรคจอประสาทตาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น threshold ROP และได้รับการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ตุลาคม 2547 ถึง กรกฏาคม 2549 จำนวน 115 ราย เปรียบเทียบกับแนวทางตรวจคัดกรองโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข

ผลการศึกษา: ทารกที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น threshold ROP มีน้ำหนักแรกเกิดระหว่าง 610 - 1,820 กรัม (เฉลี่ย 1,145 ± 263 กรัม) อายุครรภ์ขณะคลอด (gestational age) ระหว่าง 23-36 สัปดาห์ (เฉลี่ย 28.9 ± 2.4 สัปดาห์) ซึ่งเมื่อเทียบกับแนวทางการตรวจคัดกรองโรค ROP ของกระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ตรวจทารกเกิดก่อนกำหนดที่น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1,500 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์ จะมีทารกที่เป็น threshold ROP ที่ไม่อยู่ในข้อกำหนด 8.7% (10 ใน 115 ราย) สำหรับผู้ป่วยขณะได้รับการวินิจฉัยเป็น threshold ROP พบว่ามีอายุหลังคลอด (chronological age) ระหว่าง 28-137 วัน หรือ 4-19.5 สัปดาห์ (เฉลี่ย 63.8 วัน หรือ 9.1 สัปดาห์) หรือมีอายุครรภ์รวมอายุหลังคลอด (post-conceptional age) ระหว่าง 28.6-52.3 สัปดาห์ (เฉลี่ย 37.8 สัปดาห์) ซึ่งเมื่อเทียบกับแนวทางการครวจคัดกรองโรค ROP ของการะทรวงสาธารณสุขแนะนำเวลาที่ควรตรวจครั้งแรก เมื่ออายุหลังคลอด  (chronological age) 4-6 สัปดาห์ หรืออายุครรภ์บวกกับอายุคลอด (postconceptional age) ที่ 31-33 สัปดาห์ โดยถือระยะเวลาที่มาภายหลังเป็นเกณฑ์ จะไม่มีทารกที่เป็น threshold ROP ก่อนถึงกำหนดตรวจเลย

สรุป: แนวทางการตรวจคัดกรองของเด็กไทยที่เหมาะสมคือ ควรมีการตรวจจอประสาทตาในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนัก ≤ 1,900 กรัม และควรเริ่มส่งตรวจจอประสาทตาครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์หลังคลอดครบ 4 สัปดาห์ ซึ่งมีความแตกต่างจากแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องน้ำหนักแรกคลอด ซึ่งแนะนำให้ตรวจคัดกรองทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด ≤ 1,500 หรืออายุครรภ์ ≤ 28 สัปดาห์ หรือแม้น้ำหนักแรกเกิดระหว่าง 1,500-2,000 กรัม แต่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ (unstable clinical course)

--------------------------------------------------

Objective: To study the appropriate gestational age, newborn age, and birth weight of preterm baby for retinopathy of prematurity (ROP) screening criteria in Thailand.

Method: Retrospective descriptive study included 115 preterm babies who were diagnosed with threshold ROP and had been treated with laser at Queen Sirikit National Institute of Child Health in between October 2004 and July 2006 and compared with national ROP screening criteria.

Results: Threshold ROP babies have 610 to 1,820 grams birth weight (Mean 1,145 ± 263 gram) and 23 to 36 weeks of gestational age. Chronological age that had been diagnosed with threshold ROP was 28 to 137 days or 4 to 19.5 weeks (Mean 63.8 days or 9.1 weeks) or 28.6 to 52.3 weeks of post -conceptional age (Mean 37.8 weeks). The national screening ROP criteria has recommended screening babies for ROP in ≤ 1,500 grams of preterm babyûs birth weight or ≤ 28 weeks of gestational age and 4 to 6 chronological age or 31 to 33 weeks of post-conceptional age. After comparing the national screening criteria with our results, there were 8.7% (10 in 115 babies) of threshold ROP babies were overlooked. However, there was no baby that has threshold ROP younger than the recommended age.

Conclusion: The appropriate screening ROP criteria for Thailand should be in ≤ 1,900 grams preterm babies and first examination should be performed at 4th week age which differed from that national screening ROP criteria.

Article Details

Section
Original Study

References

International Committee for Classification of the Late Stages of Retinopathy of Prematurity: An international classification of retinopathy of prematurity: II. The classification of retinal detachment. Arch Ophthalmol 1987;105:906-12.

American Academy of Ophthalmology. Basic and Clinical Science Course. Section 12. Retina and Vitreous. San Francisco: LEO; 2000-2001.

American Academy of Ophthalmology. Basic and Clinical Science Course. Section 6. Pediatric Ophthalmology and Strabismus. San Francisco: LEO; 2002-2003.

Cryotherapy for Retinopathy of Prematurity Cooperative Group: Multicenter trial of cryotherapy for retinopathy of prematurity: preliminary results. Arch Ophthalmol 1988;106:471-9.

Early Treatment for Retinopathy of Prematurity Cooperative Group. Revised indications for the treatment of retinopathy of prematurity: results of the early treatment for retinopathy of prematurity randomized trial. Arch Ophthalmol 2003;121:1684-94.

Johnson EJ, Mixassian DC, Weale RA West SK. The Epidemiology of Eye Disease. 2nd. New York: Arnold 2003:276-7.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2547.