การเปรียบเทียบระยะเวลาการผ่าตัดและระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ของการใช้ไหมไม่ละลายขนาด 8-0 และ 10-0 ในการผ่าตัดต้อเนื้อร่วมกับวางเยื่อหุ้มรก โดยแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยาชั้นปีที่หนึ่ง ศูนย์ตาธรรมศาสตร์

Main Article Content

กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล
สุธี อนันต์ประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดต้อเนื้อโดยการวางเยื่อหุ้มรกของแพทย์ประจำบ้านปีที่หนึ่ง และอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดในช่วงสัปดาห์แรกระหว่างการเลือกใช้ขนาดของไหมแบบไม่ละลายขนาด 8-0 และ 10-0

รูปแบบการศึกษา: Prospective quasi experimental study  

วิธีการศึกษา: นำผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อเนื้อครั้งแรกที่ต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้อเนื้อโดยการวางเยื่อหุ้มรก แบ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยออกเป็นสองกลุ่มซึ่งได้รับการผ่าตัดโดยใช้ขนาดของไหมไม่ละลายขนาด 8-0 และ 10-0 ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดต้อเนื้อเริ่มนับตั้งแต่การฉีดยาชาจนกระทั่งถึงการปิดตาแน่น มีหน่วยเป็นนาที ส่วนอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจะทำการประเมินที่ 1 วันและ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด โดยใช้ Visual rating scale (VRS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธี GLM for repeated measure                        

ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 37 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ไหมไม่ละลายขนาด 10-0 จำนวน 28 คน และขนาด 8-0 จำนวน 9 คน ทั้งสองกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันของอายุและขนาดของต้อเนื้อก่อนผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยในการผ่าตัดต้อเนื้อโดยใช้ไหมไม่ละลายขนาด 8-0 เท่ากับ 50.89 ± 2.97 นาที และขนาด 10-0 เท่ากับ 65.43 ± 2.88 นาที ซึ่งการผ่าตัดโดยใช้ไหมไม่ละลายขนาด 8-0 ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ไหมไม่ละลายขนาด 10-0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดประเมินด้วยวิธี Visual rating scale (VRS) ที่ 1 วัน โดยใช้ไหมขนาด 8-0 และ 10-0 เท่ากับ 4.11 ± 0.65 และ 4.39 ± 0.37 ตามลำดับ และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ เท่ากับ 1.56 ± 0.25 และ 1.18 ± 0.14 ตามลำดับ ซึ่งความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อเนื้อเปรียบเทียบระหว่างไหมไม่ละลายขนาด 8-0 และ 10-0 พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การใช้ไหมไม่ละลายขนาด 8-0 แทน 10-0 เป็นทางเลือกหนึ่งของแพทย์ประจำบ้านปีที่หนึ่งเพื่อสามารถลดระยะเวลาการผ่าตัดต้อเนื้อร่วมกับการวางเยื่อหุ้มรกโดยไม่มีความแตกต่างเรื่องความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด

Article Details

Section
Original Study

References

เอกสารอ้างอิง

Prevalence of and Racial Differences in Pterygium. A Multi-ethnic Population Study in Asians. Ophthalmology. August 2012; 119(8):1509-1515.

Sekelj S. Ultraviolet light and pterygium. Collegium Antropologicum [Coll Antropol]. Jan 2007; 31(1):45-47.

ตำราจักษุวิทยาจัดทำโดยราชวิทยาลัยจักษุแห่งประเทศไทย. ตุลาคม 2555:35-37.

Options and Adjuvants in Surgery for Pterygium. A Report by the American Academy of Ophthalmology. Ophthalmology. Jan 2013;120(1):201-208.

Management of pterygium, by Ardalan aminiari MD. Opthalmic pearls. http://www.aao.org/publications/eyenet/201011/pearls.cfm.

Basic and clinical science course. Section 8 :External disease and cornea. San Francisco:American Academy of Ophthalmology 2011-2012:312,391-395.

MD web,Pterygium, http://www.webmd.com/eye-health/pterygium-surfers-eye?page=2.

Meiyan Li, Min Zhu. Comparison of conjunctival autograft transplantation and amniotic membrane transplantation for pterygium: a meta-analysis, Springer-Verlag 2011.

Victoria W.Y. Wong. Polyglactin sutures versus nylon sutures for suturing of conjunctival autograft in pterygium surgery: a randomized controlled trial. Acta Ophthalmol. 2007;85:658–661.

Shreya Thatte. Amniotic membrane transplantation: An option for ocular surface disorder. Oman journal of Ophthalmology 2011 Vol.4(2).