การประเมินผลโครงการรณรงค์ผ่าตัดตาต้อกระจกในความร่วมมือของมูลนิธิแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) คปสอ. บางระกำ ปีงบประมาณ 2559
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินบริบทปัจจัยนำเข้ากระบวนการและผลลัพธ์ของโครงการรณรงค์ผ่าตัดตาต้อกระจกในความร่วมมือของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) คปสอ.บางระกำ ปีงบประมาณ 2559 และผู้ป่วยตาต้อกระจกได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและสามารถฟื้นฟูการมองเห็นได้ในเวลา 1 - 2 เดือน
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยประเมินผล (evaluation research) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ cipp model
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 310 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจก 20 คน และผู้ได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจก 290 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา:พบว่า ด้านบริบท มีความเหมาะสมระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.59) เรื่องที่เหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ โครงการมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยตาต้อกระจก ( =4.92 ,S.D. = 0.29) การกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการชัดเจน และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาลบางระกำ ( = 4.58, S.D. = 0.51) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมระดับมาก ( = 4.19, S.D. = 0.68) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีความเหมาะสมระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.56) โดยขั้นตอนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ การจัดลำดับผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการผ่าตัด และขั้นตอนในการดูแลหลังผ่าตัดถูกต้องและรวดเร็ว (= 4.50, S.D. = 0.52) และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.50) โดยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการมากที่สุด ( =4.58 ,S.D. = 0.51)
สรุป: การดำเนินโครงการได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยตาต้อกระจกจำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเข้าร่วมโครงการ เป็นการสร้างทีมงานและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลด้านจักษุ จุดแข็งของโครงการ คือ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ หน่วยงานต่างๆ และชุมชน รวมถึงความเชี่ยวชาญของทีมจักษุแพทย์ โครงการนี้ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่และบุคลากรมีความคุ้นเคย ประสบการณ์ในการดูแลด้านจักษุเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านจักษุของประเทศไทย
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กัลยา ตีระวัฒนานนท์ และคณะ. 2554. “การเข้าถึงและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในประเทศไทย.” วารสารวิชาการสาธารณสุข 20: 53-68.
ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และคณะ. 2548. รูปแบบการประเมินและติดตามผลโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานวิจัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.2557. “แนวคิดและกระบวนการประเมินโครงการ.” วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 7, 1: 1-12.
พุทธชาติ ลิ้มละมัย. 2552. “การประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล:Routine to Researchกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี.” วารสารกองการพยาบาล. 36, 3: 133-145.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. 2551. การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊กส์.
วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. 2544. การประเมินผลในระบบเปิด. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารและตำรา สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์นิด้า.
ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล และเนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ. 2556. “การประเมินผลโครงการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุในชุมชน.” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 19, 2: 31-45.
ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์. 2550. ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สมคิด พรมจุ้ย. 2552. เทคนิคการประเมินโครงการ.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ : จตุพร ดีไซน์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2553. วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักสารนิเทศกระทรวงสาธารณสุข. 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557. “รมช. สธ. เผยพบคนไทยเสี่ยงตาบอดจากต้อกระจกปีละ 6 หมื่นราย เร่งผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ.” ข่าวเพื่อสื่อมวลชน. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2558. http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=69572.
อภิรักษ์ ชัยวิรัตนะ. 2553. “การรักษาต้อกระจกแบบบูรณาการ.” Thai Journal of Public Health Ophthalmology 22, 1: 32-41.
Ho et al. 2011. “Evaluation of the suicide prevention program in Kaohsiung City, Taiwan, using the CIPP evaluation model Community.” Mental Health Journal 47, 4: 542-550.
http://www.vision2020thailand.org/rep-screen_va_confirm.php.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง. 2556. แนวทางการพัฒนาระบบบริการ
สุขภาพ สาขาจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.