การศึกษาขนาดของต้อเนื้อที่มีผลต่อการแยกแยะระดับความสว่างภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ

Main Article Content

กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล
อมรรัตน์ วงศ์ณรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดของต้อเนื้อที่มีผลต่อการแยกแยะระดับความสว่าง โดยทำการเปรียบเทียบการแยกแยะระดับความสว่างระหว่างก่อนและหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ

รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา  

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคต้อเนื้อที่มารับการผ่าตัดในแผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีการตรวจการแยกแยะระดับความสว่างทั้งก่อนผ่าตัดและหลังการผ่าตัดที่ระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้แผ่นป้าย functional acuity contrast test (FACT) บันทึกจุดที่ผู้ป่วยสามารถบอกความแตกต่างได้น้อยที่สุดในแต่ละแถว เเล้วเปลี่ยนให้เป็นค่าลอกาลิทึม รวมทั้งวัดและบันทึกขนาดต้อเนื้อตามแนวนอนของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนการผ่าตัด                        

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 42 คน จำนวน 42 ตา เป็นเพศหญิงจำนวน 17 คน เพศชายจำนวน 25 คน ค่าอายุเฉลี่ย 60 ปี โดยมีผู้ป่วยที่มีต้อเนื้อขนาดใหญ่ (วัดขนาดต้อเนื้อตามแนวนอนได้มากกว่า 3 มิลลิเมตร) จำนวน 28 คน เเละผู้ป่วยที่มีต้อเนื้อขนาดเล็ก (วัดขนาดต้อเนื้อตามแนวนอนได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิเมตร) จำนวน 14 คน ค่าเฉลี่ยของผลต่างการตรวจการแยกแยะระดับความสว่างก่อนและหลังการผ่าตัด (mean difference) ของต้อเนื้อขนาดใหญ่ที่ spatial frequency 1.5, 3.0, 6.0, 12.0, 18.0 cpd เท่ากับ 0.05±0.2, -0.05±0.25,  -0.03±0.20, -0.05±0.17, 0.04±0.12 ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยของผลต่างการตรวจการแยกแยะระดับความสว่างก่อนและหลังการผ่าตัด (mean difference) ของต้อเนื้อขนาดเล็กที่ spatial frequency 1.5, 3.0, 6.0, 12.0, 18.0 cpd เท่ากับ -0.1±0.11, -0.09±0.19, -0.17±0.26, -0.17±0.24,
-0.17±0.24, -0.14±0.24 ตามลำดับ ส่วนผลต่างของค่าเฉลี่ยการตรวจการแยกแยะระดับความสว่างระหว่างต้อเนื้อขนาดใหญ่และต้อเนื้อขนาดเล็กที่ spatial frequency 1.5, 3.0, 6.0, 12.0, 18.0 cpd เท่ากับ 0.15, 0.04, 0.14, 0.11, 0.18 ตามลำดับ

สรุป: ต้อเนื้อที่มีขนาดใหญ่มีผลต่อการแยกแยะระดับความสว่างในผู้ป่วยต้อเนื้อมากกว่าต้อเนื้อที่มีขนาดเล็ก

Article Details

Section
Original Study

References

เอกสารอ้างอิง

Lan Ping Sun,Wei Lv, Yuan Bo Liang, David S. Friedman, Xiao Hui Yang, Li Xia Guo, Yi Peng. The Prevalence of and Risk Factors Associated with Pterygium in a Rural Adult Chinese Population: The Handan Eye Study.Ophthalmic Epidemiology. 2013; 20(3):148–154

Ting Liu, Yangwuyue Liu, Lin Xie, Xiangge He and Ji Bai. Progress in the Pathogenesis of Pterygium. Current Eye Research. 2013;Vol. 38: Issue.12:1191-97

Isyaku Mohammed .Treatment of pterygium. Annual of African Medicine. 2011 Jul-Sep;10(3):197-203

Khan FA, Khan Niazi SP, Khan DA. The impact of pterygium excision on corneal astigmatism. J Coll Physicians Surg Pak. 2014 Jun;24(6):404-7

Archana M, Sudesh K, Sunandan S, Soniya B, Subina N. Effect of pterygium on contrast sensitivity. Int Ophthalmol. 2014; 34:505–509

Joo YO, Won RW. The effect of pterygium surgery on contrast sensitivity and corneal topographic changes. Clinical Ophthalmology. 2010;4:315–319

Denis G. Pelli, Peter Bex. Measuring contrast sensitivity. Vision reseatch (90). 2013:10-14