ผลของยาลดการเพ่งต่อค่าสายตาผิดปกติในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ช่วงอายุ 8-10 ปี
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างค่าสายตาที่วัดด้วยเครื่อง autorefractometer ก่อนหยอดยาลดการเพ่งเปรียบเทียบกับค่าสายตาทีวัดด้วยเครื่อง autorefractometer หลังหยอดยาลดการเพ่งของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาช่วงอายุ 8-10 ปี ของโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ และโรงเรียนวัดคุณหญิงส้มจีน มิตรภาพที่ 64
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study)
วิธีการศึกษา: โดยการรวบรวมข้อมูลค่าสายตาที่วัดด้วยเครื่อง autorefractometer จากการออกตรวจวัดสายตาเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีอายุ 8-10 ปี จากโรงเรียนประถมศึกษา 2 โรงรียนโดยคณะจักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำข้อมูลในส่วนค่าสายตาก่อนหยอดยา 1% cyclopentolate ที่วัดด้วยเครื่อง autorefractometer และค่าสายตาหลังหยอดยาที่วัดด้วยเครื่อง autorefractometer นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบทางสถิติ
ผลการศึกษา: เด็กนักเรียน 233 คน (ชาย 114 คน และหญิง 119 คน) อายุระหว่าง 8-10 ปี (เฉลี่ย 9.71 ปี) ค่าเฉลี่ยผลต่างของค่าสายตาก่อนและหลังหยอดยาลดการเพ่งเมื่อวัดโดยเครื่อง autorefractometer ในกลุ่มนักเรียนอายุ 8 ปี มีค่าเฉลี่ยผลต่างเท่ากับ -1.00 ± 0.40 D (p = 0.001) กลุ่มอายุ 9 ปี มีค่าเฉลี่ยผลต่างเท่ากับ -0.70 ± 1.04 D (p = 0.000) กลุ่มอายุ 10 ปีมีค่าเฉลี่ยผลต่างเท่ากับ -0.80 ± 0.66 (p = 0.000)
สรุป: ในเด็กช่วงอายุ 8-10 ปี ค่าสายตาที่วัดด้วยเครื่อง autorefractometer ก่อนและหลังหยอดยาลดการเพิ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน ทุกกลุ่มอายุ ดังนั้น ในการวัดค่าสายตาของเด็กในช่วงอายุนี้จึงมีความจำเป็นต้องหยอดยาลดการเพ่ง ก่อนวัดค่าสายต
The Cycloplegic Effect of Refractive Error in Primary School Children (age 8-10 years)
Objective: To compare between noncycloplegic and cycloplegic autorefraction in a representative sample of primary school children (age 8-10 years) from 2 schools (Thammasat primary school and Wat Khunying Somjeen Mitraparp 64th school).
Method: A total of 233 children ranging in age from 8-10 years old from 2 primary schools were included in this descriptive study. Autorefraction of children from 2 primary schools before and after cycloplegic refraction, induced with 1% cyclopentolate was done.
Results: Noncycloplegic measurement of equivalent spheres in age 8, 9, 10 years old were -0.14 ± 0.46 D, -0.49 ± 0.89 D, -0.35 ± 1.04 D consequencely. With cycloplegia in the same age results were + 0.86 ± 0.18 D, + 0.22 ± 1.05 D, +0.44 ± 1.01 D. The average difference of noncycloplegic and cycloplegic autorefraction in 8 years old children were -1.00 ± 0.40 D (p = 0.001), 9 years old were -0.70 ± 1.04 D (p = 0.000) and -0.80 ± 0.66 (p = 0.000) for 10 years old group.
Conclusions: Noncycloplegic and cycloplegic autorefraction in children age 8-10 years old have clinically significant differences. Therefore ophthalmologists should do cycloplegic refraction for children in these age groups.