การสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลมหาสารคาม

Main Article Content

นันทนา สราญจิตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา จำปามูล

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของ พยาบาลวิชาชีพ ห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลมหาสารคาม และคู่มือการใช้แบบประเมินสมรรถนะ โดยการศึกษาจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องตรวจจักษุ หอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก และห้องผ่าตัดตา โรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 13 คน ดำเนินการสำรวจวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของหน่วยงานและความต้องการพัฒนาของ พยาบาลวิชาชีพ จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะ 3 แบบ (แบบทดสอบความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดสมรรถนะระดับสเกล) ที่ครอบคลุมการวัดทั้งด้านทักษะความชำนาญและความรู้ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ทำการทดสอบหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้านทักษะความชำนาญกับพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต(Interrrater reliability)และ Cronbach's Alpha Coefficient ของแบบประเมินสมรรถนะการคัดกรองผู้รับบริการทางตา และแบบประเมินสมรรถนะการช่วยจักษุแพทย์ตรวจ/ทำหัตถการ มีค่าเท่าเทียมกันของการสังเกตเท่ากับ 0.90 และค่า Cronbach's Alpha Coefficient เท่ากับ 0.97 แบบประเมินสมรรถนะการให้การพยาบาลโรคตาเบื้องต้นและแบบประเมินสมรรถนะ การช่วยตรวจรักษาตาด้วยแสงเลเซอร์ มีค่าความเท่าเทียมกันของการสังเกตเท่ากับ 0.95 และค่า Cronbach's Alpha Coefficient เท่ากับ 0.98 และแบบประเมินทักษะความชำนาญทางคลินิก การวัดสายตาได้ค่าพิสัยเท่ากับ 0.28 การเช็ดตาได้ค่าพิสัยเท่ากับ 0.00

ผล การศึกษาแบบประเมินได้ประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพ ห้องตรวจจักษุโรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 6 เรื่อง ที่วัดครอบคลุมทั้งด้านความรู้ (knowledge test) ด้านพฤติกรรมหลัก (BARS) และด้านทักษะความชำนาญคลินิก (observation checklist) ได้แก่ 1) การคัดกรองผู้รับบริการทางตา 2) การช่วยจักษุแพทย์ตรวจ/ทำหัตถการ 3) การให้การพยาบาลโรคตาเบื้องต้น 4) การช่วยตรวจรักษาด้วยแสงเลเซอร์ 5) การวัดสายตา 6) การเช็ดตา

 

Development of Essential Competency Assessment Tools for Registered Nurses Working in Ophthalmic Out-patient Department Mahasarakharm Hospital

The purpose of this independent study was to establish specialty competency assessment forms and a competency assessment manual for registered nurses working in Ophthalmic Outpatient Department, Mahasarakham Hospital. The author analyzed job and nursing task, the Ophthalmic Out-patient Department problems and staffûs needs, the literature reviewed. Three nurses in Ophthalmic Out-patient Department (OPD) and Eye Ear Nose and Throat ward (EENT) were interviewed to identify specialty competencies and ranked their priority. Three types of assessment forms (observation checklist, knowledge test, and competency - rating scale) were developed and used for measuring two components of competencies (knowledge, technical skills). The operational workshop included giving knowledge related to the competencies and brainstorming technique was conducted for target groups which were 13 nurses working in Ophthalmic OPD and EENT ward. The competency assessment forms (draft) were reorganized according to the participantûs critic s, opinions, and suggestions. Five experts were asked to validate the content of 6 competency assessment forms and their appropriateness. The draft of competency manual for staff nurses also were developed later on. Then, the screening of eyes and the helping ophthalmologist to verify test were done to test acceptable reliabilities of the assessment forms and reported as 0.90 (Interrater reliabilities) and 0.97 (Cronbachûs Alpha coefficient) the primary eye nursing care and the helping in laser treatment were done to test acceptable reliabilities of the assessment forms and reported as 0.95 (Interrater reliabilities) and 0.98 (Cronbachûs Alpha coefficient) for the competency rating scale. The range for the observation checklist; 0.28 for the competency of visual acuity, 0.00 for the competency of clean eyes, for each competency assessment form, it included a knowledge test and observation skill-checklist. The manual for staff nurses and evaluators were completed.

Article Details

Section
Original Study

References

กุลวดี มุทุมล. (2542). การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์หาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กุลยา ตันติผลาชีวะ และส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล.(2541). วิชาชีพการพยาบาลในยุคเศรษฐกิจถดถอย. สารสภาการพยาบาล. 13(1), 1-7.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาพยาบาล.(2544). ประมวลการสัมมนาพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตเพื่อการตอบสนองการปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย. วันที่2-325 กรกฎาคม 2544 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร.จัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: บริษัทงานเจริญเปเปอร์แอนด์พรินท์ จำกัด.

อภิญญา จำปามูล. (2548). สมรรถนะของพยาบาลและการสร้างแบบประเมิน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่องการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน,ขอนแก่น, โรงพยาบาลขอนแก่น