รายงานการสำรวจสภาวะตาบอดและโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญในพื้นที่ชนบทห่างไกลและขาดแคลนจักษุแพทย์

Main Article Content

แพทย์หญิงวรางคณา ทองคำใส

Abstract

บทนำ: โครงการจักษุศัลยกรรมในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เป็นโครงการซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและขาดแคลนจักษุแพทย์ โดยการให้การตรวจและรักษาผู้ที่มีปัญหาโรคทางตา และนำข้อมูลพื้นฐานทางระบาดวิทยาของสภาวะตาบอด และโรคที่เป็นสาเหตุจากการออกปฏิบัติงานในปีงบประมาณล่าสุด นำมาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจแห่งชาติ

วัสดุและวิธีการ: ทีมงานโครงการจักษุศัลยกรรมในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีออก ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ เขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา, เขตอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงหใม่ และเขตอำเภอทองผาภูมิ จัหงวัดกาญจนบุรี แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์

ผลการศึกษา: จำนวนประชากรรวมกันทั้งหมด 84,794 คน ทำการตรวจรักษาและผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางตาจำนวน 1,747 คน

สรุปผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของภาวะตาบอดเท่ากับ 0.24% พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกของภาวะตาบอด สาเหตุอันดับรองลงมา ได้แก่ โรคต้อหิน

 

Causes of Blindness and Visual Impairment in Rural area and Lack of Ophthalmologists in Thailand

Abstract

The Princess Sirindhorn Eye Surgery Mobile Unit was conducted by the Thai Red Cross Society to survey and treat the eye disease in the rural area that is very far from the cities and lack of ophthalmologists. The epidemiology and prevalence of blindness in the latest fiscal year were evaluated and compared with the national survey.

Method: This study is part of Princess Sirindhorn Eye Surgery Mobile Unit in 3 provinces such as Phayao, Chiangmai and Kanchanaburi province which was conducted as a retrospective crosssectional study.

Result: A total of 84,794 participants were evaluated. Eye surgery was conducted in 1,747 people.

Conclusion: The survey concluded that blindness prevalence was 0.24%. Female is more affected than male. Cataract is the most common cause of blindness and glaucoma is the second common cause.


Article Details

Section
Original Study

References

Somchai Wongwetsawat. Epidemiology of Blindness and Low vision in Thailand 1994. Thai Journal of Public Health Ophthalmology. Vol. 17 No.1 2003.

Watanee Jenchitr, Chalao Pongprayoon.The National Programmes for the Prevention of Blindness and Eye Health Promotion in Thailand. Thai Journal of Public Health Ophthalmology. Vol. 17 No.1 2003.

ชูชัย คูสุวรรณ. รายงานการสำรวจสภาวะตาบอดและโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญในจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2537. จักษุสาธารณสุข ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 2539.

เพ็ญพิมล ยิ่งยง. ผลลัพท์และกระบวนการตรวจคัดกรองฟื้นฟูสมรรถภาพสายตาพิการและส่งเสริมสุขภาพตาตามโครงการบูรณาการกรมการแพทย์สู่ประชาชนปีงบประมาณ 2550 ที่จังหวัดพังงา. Thai Journal Opththalmology Vol.20 No.2 2006.

WHO/Chris de Bode. Blindness and Visual Impairment. (available from: URL:http://www.who.int/features/factfiles/vision/01_en.html).

Chang the Definition of Blindness. (available from: URL:http:// www.who.int/entity/blindness/Change%20the%20Definition%20of%20Blindness.pdf).

Benjamin WJ. Clinical Refraction. W.B. Saunders Company: 199.