ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต้อกระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนก่อนผ่าตัด

Main Article Content

ประภา ยอดแก้ว
รองศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท รุจิวิชชญ์

Abstract

การวินิจฉัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความเครียดและระดับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต้อ กระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงสามัญและหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดระดับความเครียด ซึ่งใช้เครื่องมือไบโอฟีดแบคแบบวัดการทำงานของต่อมเหงื่อที่ผิวหนังแบบ ประเมินระดับความเครียดและแบบประเมินระดับการเผชิญความเครียดผู้ป่วยโรคเบา หวานที่มีต้อกระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนก่อนผ่าตัด จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการ วินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต้อกระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนก่อนผ่าตัด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 67 ปีมีสถานภาพสมรสโดยอยู่ด้วยกันถึงร้อยละ 95.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านหรือพ่อบ้าน ใช้สิทธิข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจมากที่สุด ครอบครัวผู้ป่วยส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 22,657 บาทผู้ป่วยมีระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 10.84 ปี มีระยะเวลาที่สายตาเริ่มมัวเฉลี่ย 24.47 เดือน และระยะเวลาที่สายตาของผู้ป่วยมัวมากขึ้นเฉลี่ย 6.39 เดือน ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่แรกเข้ารับการรักษาตัวในโรง พยาบาล 142.31 mg% ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเครียดอยู่ในระดับสูงมากกว่าปกติคิดเป็นร้อยละ 62 และพบว่าความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต้อกระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขตามอารมณ์อย่างมีนัย สำคัญที่ P < 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.469

ข้อ เสนอแนะจากการวิจัยคือ พยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนกำหนดแนวปฎิบัติใน การป้องกันและส่งเสริมวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ที่รอผ่าตัดประเภทต่างๆ เพื่อลดระดับความเครียดก่อนผ่าตัด

 

The Relationship between Stress and Coping Methods of Diabetic Patients with Cataract Complications before Operation

The purpose of this research was to study stress levels and coping methods of diabetic patients with cataract complications before their operations at the female surgical ward and eye ear nose throat ward, Thammasat University Hospital. The study aimed to explain the relationship between the stress and coping methods of the patients. Data were gathered from a sample of 64 diabetic patients with cataract complications during October 2008 to November 2009. The patients were assessed their stress levels with biofeedback instrument. Questionnaire was used to assess stress and coping methods.

The results revealed that the majority of the patients were female with an average age of 67 years, married status, and no occupations because of working at home. Fifty percents of the patients used government-medical benefits for their payments, and the averaged income of the patientsû families was 22,657 Baht per month. The duration of diabetes, blurred vision onset, and decreased visibility among most of the patients averaged 10.84 years, 24.47 months and 6.39 months respectively. The averaged blood sugar level of the patients upon first admission was 142.31 mg%. The stress level of the patients was high at the average of 89.1%, and their affective-oriented coping method was also at a high level of 62.5%. In addition, the stress of the diabetic patients with cataract complications before their operations was positively correlated to their affective-oriented coping method at the significant level of .01 with the correlational coefficience of 0.469.

The recommendation of this research study is that nurses and health professions can use this data for setting a guideline in terms of promoting coping strategies to reduce stress. These strategies should be appropriate for each patient in different operations, particularly before operation.


Article Details

Section
Original Study

References

สมชาย สงศ์เวชสวัสดิ์. (2539). ระบาดวิทยาของคนตาบอดและสายตาเลือนรางในประเทศไทย. ใน วัฒนีย์ เย็นจิตร (บรรณาธิการ). รายงานการประเมินผลโครงการป้องกันตาบอด และควบคุมสายตาพิการ. กลุ่มงานจักษุวิทนาลำปาง: กิจเสรีการพิมพ์.

Lerman, S. (1992). Cataractogenesis in Weinstock Frank J. Management and Care of the Cataract Patients. Boston: Blackwell Scientific Publication.

Gilmer, O.C. (1997). The Coat to Health Plants of Poor Glycemic Control. Diabetes Care. 105, 1847-53.

อุระณี รัตนพิทักษ์. (2535). สำรวจอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลศิริราช.

ภารดี นานาศิลป์. (2543). ต้อกระจก: การดูแล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

แผนกเวชระเบียน. (2552). โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี.

มรรยาท รุจิวิทย์. (2548). การจัดกาความเครียด. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Jalowiec, Anne, et. al. (1984). Psychometric Assessment of the Jalowiec Coping Scale. Nursing Research. 33(May-June), 157-161.

เทพ หิมะทองคำ และคณะ. (2547). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จำกัด.

Armstrong, WF. (1987). Biophysical and physiological integration of proper clothing for exercise. Related articles. Review. PMID. 2(4), 241-58.

Lundman, B., Asplund, K., & Norberg, A. (1990). Evaluating Mindfulness-Based Stress Reduction. Archives of Psychiatric Nursing, 22(2),107-9.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2543). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.

พงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรชนา. (บรรณาธิการ).(2548). ดูแลสุขภาพ บำบัดโรคด้วยสมาธิ และจิตใต้สำนึก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โกเมนเอก.

เพ็ญศรี พรวิริยะทรัพย์. (2540). พฤติกรรมสุขภาพของผู้หญิงโรคเบาหวานในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ และโกศล คำพิทักษ์. (บรรณาธิการ). (2548). ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

สุนิตย์ จันทร์ประเสริฐ. (2539). เบาหวาน. ใน วิทยา ศรีมาดา (บรรณาธิการ), ตำราอายุรศาสตร์ 3. กรุงเทพฯ: โครงการตำราอายุรศาสตร์.

Lazarus, R.S. (1984). Coping and Adaptation. in Handbook of Behavioral Medicine. New York: The Guilford Press, 283-325.