การประเมินภาวะผิดปกติทางด้านสายตา เพื่อรับการสนับสนุนแว่นตาในกลุ่มสมาขิกศูนย์ศิลปาชีพ บ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นันทนา สราญจิตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) เพื่อประเมินภาวะผิดปกติทางสายตา และนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบบริการมุ่งสู่ความเป็นเลิศกลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ในการสุ่มตัวอย่างประชากรที่มารับบริการที่ศูนย์คือ สมาชิกของศูนย์ศิลปาชีฟบ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบคัดกรองสายตา โดบมีเกณฑ์ในการคัดกรองภาวะผิดปกติทางสายตา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินภาวะความผิดปกติทางด้านสายตา และรับการสนับสนุนแว่นตาจากกองราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระ บรมราชินีนาถในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ว่ามีมากน้อยเพียงใด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

กลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มสมาชิกของศูนย์ศิลปาชีพบ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 135 คน ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองสายตา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551

ผลการวิจัย: จากจำนวนสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกำพี้ ที่มารับการตรวจคัดกรองสายตา จำนวน 135 คน พบต้อเนื้อจำนวน 49 คน(ร้อยละ 36.2), ต้อกระจก จำนวน 31 คน (ร้อยละ 22.9) เป็นทั้งต้อเนื้อและต้อกระจก จำนวน 23 คน (ร้อยละ 17) ผลการวัดสายตา พบสายตาสั้นจำนวน 25 คน (ร้อยละ 18.5), สายตายาวจำนวน 17 คน (ร้อยละ 12.5) และสายตาปกติจำนวน 90 คน (ร้อยละ 66.6) ให้ได้รับแว่นสายตาสั้นจำนวน 14 คน (ร้อยลฃะ 10.3) ให้แว่นตามองใกล้มากที่สุดร้อยละ 81.4

 

Evaluation of Refractive Error and to Support the Eye Glasses for
Member of the group of Silapacheep Ban Kumpee Center Tumbol
Kumpee Amphur Borabue Mahasarakham Province

Objective: To assess refractive error and to support the eye glasses for member of the group of Silapacheep Ban Kumpee Center Tumbol Kumpee Amphur Borabue Mahasarakham Province.

Method: Descriptive study

Setting: Silapacheep Ban Kumpee Center Tumbol Kumpee Amphur Borabue Mahasarakham Province.

Subjects: The 135 patients were screening refractive error on 21th November 2008

Result: From 135 patients were screening refractive error in this description study The pterygium was found in 49 patients (36.2%), the cataract was found in 31 patients (22.9%) for the pterygium and cataract were found in 23 patients (17%), myopia was found in 25 patients (18.5%), hyperopic was found in 17 patients (12.5%). The normal vision was found in 90 patients (66.6%) and to be given eye glasses for 14 myopia patients (10.3%) and prebyopia 110 patients (81.4%).


Article Details

Section
Original Study

References

เทียนชัย พรหมภูเบศวร์, สมชัย วงศ์เวชสวัสดิ์ รายงานการสำรวจสภาวะตาบอดและโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย พ.ศ.2537. ลำปาง: กิจเสรีการพิมพ์, 2540.

ประเสริฐ ลีอังกูรเสถียร ศิลปะการวัดสายตา พิมพ์ครั้งที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.

พัฒนพงษ์ กุลยานนท์และนิยม คอนยามา การพัฒนาระบบให้บริการวัดแว่นสายตาในแผนงานป้องกันและส่งเสริมสุขภาพตา วารสารจักษุสาธารณสุขปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2543.

Chao Tongplengsri. Present situation of refraction services in Thailand. Presentation in the meeting of the third inter-country workshop on prevention of blindress at Hanoi 6-9 March, 2000 by WHO Tokyo Collaborating Center.

World Health Orgamization. Global Initiative for the Elimination of Avoidable Blindness, VISION 2020. The Right to Sight Prevention of Blindness and Deafness, WHO / PB / 97.61 Rev.1.