การใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดไม่ขยายม่านตา เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นายแพทย์ประภัสร์ ศุขศรีไพศาล

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาโดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากผลการอ่านภาพจอประสาทตาจากการคัดกรอง ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดไม่ขยายม่านตา แล้วอ่านผลโดยจักษุแพทย์จำนวน 5 ท่าน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 8,188 ราย (ชาย 3,819 คน และหญิง 4,639 คน) อายุระหว่าง 30 -88 ปี(เฉลี่ย 56.9 ปี) พบความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 13.10 ผลการตรวจพบภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาชนิด NPDR ร้อยละ 12.5 และชนิด PDR ร้อยละ 0.6 ซึ่งภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่พบเป็นชนิด PDR น้อยกว่า NPDR ทั้งสองกลุ่ม ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยมีอุบัติการณ์ของ PDR สูงที่สุด (ร้อยละ 0.22) และ NPDR สูงที่สุด (ร้อยละ 5) นอกจากนี้เบาหวานขึ้นจอประสาทตามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาการเป็นเบา หวาน โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 6-10 ปี มีอัตราที่พบ NPDR สูงที่สุด (ร้อยละ 5.7) และผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนาน 11-15 ปี มีอัตราที่พบ PDR สูงที่สุด (ร้อยละ 0.22) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงตรวจพบเบาหวานขึ้นจอประสาท ตา NPDR ร้อยละ 4.1 และ PDR ร้อยละ 0.22 ส่วนปัจจัยเสียงอื่นที่มีความสัมพันธ์กับเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ P<0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 ได้แก่ เพศ และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเสี่ยงต่อการมีภาวะ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา มากกว่าโรคอื่น และยังพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเบาหวานนานกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตามากกว่าคนที่เป็นเบาหวานน้อย กว่า 5 ปี

สรุป: พบความชุกของอาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 13.10 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา คือ เพศ การมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน และระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวาน

 

Screening for Diabetic Retinopathy in Diabetic Patients
by Non mydriatic Fundus Camera in Ayutthaya Province

Objective: To study the prevalence of diabetic retinopathy in Ayutthaya province. To study the relationship of risk factors for diabetic retinopathy in diabetic patients

Method: prospective study by collected data by using non mydriatic fundus camera to screening the fundus images of 8,188 diabetic patients in Ayutthaya Province. Then read all fundus images and look for diabetic retinopathy patients by 5 ophthalmologists in Ayutthaya Province.

Result: 8,188 of diabetic patients (3,819 men and 4,639 women), age between 30 to 88 years (mean 56.9 years), The finding showed that the prevalence of diabetic retinopathy 13.10%, findings non proliferative diabetic retinopathy (NPDR) 12.5% and proliferative diabetic retinopathy (PDR) 0.6%. PDR is found less than NPDR in two groups of patients. Diabetic retinopathy condition increases with age older than 60 years incidence of PDR (0.22 %), incidence of NPDR 5%). Diabetic retinopathy tend to increase with duration of diabeties in patients with diabeties 6-10 years the rate of NPDR (5.7%) and patients with diabeties 11-15 years, the rates of PDR 0.22 %). Diabetic patients with hypertension is found NPDR 4.1% PDR. 0.22 % and another risk factors associated with diabetic retinopathy statistical significance P <0.05 ,level of confidence 95 was sex but hypertension associated with diabeties was risk than other risk factors. Duration of diabeties over a 5 years was risk of diabetic retinopathy than duration of diabeties less than 5 years.

Conclusion: Prevalence of diabetic retinopathy were 13.10 percent of diabetic patients and the significant risk factors associated with diabetic retinopathy were sex, systemic hypertension and duration of diabeties.


Article Details

Section
Original Study

References

โสภณ นิลคำแหง. ความชุกและความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลมุกดาหาร. จักษุเวชสาร 2552; 23(2): 116-124.

โรงพยาบาลไทยนครินทร์. โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 2553;2.

ณัฐชัย นิธิอภิญญาสกุล, อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล, ธัญญา เชษฐากุล. การคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลชุมชน. จักษุเวชสาร 2547; 18(2) : 110.

จิตติมา อินทพิบูลย์, วนิดา ศรีม่วง, ดนยา อินทะวงษ์, จิตติมาศ บริบูรณ์, วรัทยา วิเศษ, จันทร์ส่อง คงกระพันธ์. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. จักษุเวชสาร 2551;22(1): 12-17.

รสสุคนธ์ ศรีพัฒนาวัฒน์, เกรียง เจียรพีระพงษ์, พลกฤษณ์ สุขะวัชรินทร์, ทินกรณ์ หาญณรงค์, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การศึกษาความชุกของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของจังหวัดสุขโทัย. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2550; 2(2): 6-11.