อุบัติเหตุทางตาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางตาที่มารับการรักษาที่รพ.ธรรมศาสตร์ เพื่อ หาวิธีป้องกันและลดอุบัติการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)
วิธีการศึกษา : ทำการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงพรรณนา โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่มีประวัติอุบัติเหตุ การบาดเจ็บทางตาที่เข้ารับการรักษาในรพ.ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติและจักษุแพทย์ ได้รับการปรึกษาจาก ห้องฉุกเฉินตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนเมษายน 2554 โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วย จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวิธีการรักษา
ผลการศึกษา : จากการเก็บข้อมูล มีผู้ประสบอุบัติเหตุ ทางตาทั้งสิ้นจำนวน 121 คน เป็นเพศชาย 98 คน (80.99%) เพศหญิง 23 คน (19.01) ค่าเฉลี่ย (mean) ของอายุของผู้ที่เข้ารับการตรวจคือ 33.73 ปี ช่วงอายุที่ มีการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือช่วง 31 – 40 ปี มี 37 คน (30.58%) ทั้งนี้ได้แบ่งเป็น อุบัติเหตุจากกิจกรรมจาก การทำงาน 71 คน (58.68%) ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ที่พบการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือช่วง 8.00-16.00 น. มีจำนวน 69 คน (57.02%) ระดับสายตาแรกรับที่พบมากที่สุดคือช่วง 20/20-20/40 มีจำนวน 58 คน (47.93%) การ วินิจฉัยสุดท้ายที่พบมากที่สุดคือเศษเหล็กติดกระจกตา 31 คน (25.62%) การบาดเจ็บที่มีแผลเปิดของตา (opened globe injury) 28 คน (23.14%) ผู้ที่จำเป็นต้อง ได้รับการนอนโรงพยาบาลมีจำนวน 35 คน (28.93%)
สรุป: อุบัติเหตุทางตาเป็นปัญหาทางตาที่พบได้บ่อยและส่วนใหญ่เกิดในเพศชาย วัยทำงานการวินิจฉัยที่พบ มากที่สุดคือเศษเหล็กติดกระจกตาแม้ว่าการบาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำให้มีการสูญเสียการมองเห็นระดับ รุนแรง แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการนอนโรงพยาบาล และก็มีไม่น้อยที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่แรกรับ โดยผู้ป่วยส่วนมากไม่ให้ความสำคัญในการใช้อุปกรณ์ ป้องกันตา
Ocular injury in Thammasat hospital
Abstract
Objective: To study the prevalence of ocular injury and cause of the injury in order to find prevention.
Study design: Descriptive study
Material and method: To collect the data from patients who had ocular injury and were treated by ophthalmologists in Thammasat University Hospital between November 2010 and April 2011.
Results: There were 121 people with ocular injury (98 male and 23 female). The mean age of subjects was 33.73 years old. The most common age group was 31 – 40 years old (30.58%). The most common cause was associated with injury related to their occupation (58.68%). The injury usually occurred on 08.00AM -04.00PM (57.02%). Corneal foreign body was the most common diagnosis (25.62%). Opened globe injury was found in 28 eyes (23.14%). There were 35 people (28.93%) got hospitalization.
Conclusion: Ocular injury was a common eye problem, predominantly in male with work-related ocular injury. The most common cause was corneal foreign body. Although the most injury was not related with severe loss of vision, but there were still some patients that have to be hospitalized and in severe case, they can get blind.
Article Details
References
Loon SC, Tay WT, Saw SM, Wang JJ, Wong TY. Prevalence and risk factors of ocular trauma in an urban south-east Asian population: the Singapore Malay Eye Study. Clin Experiment Ophthalmol 2009 May;37(4):362-7.
Saeed A, Khan I, Dunne O, Stack J, Beatty S. Ocular injury requiring hospitalisation in the south east of Ireland: 2001-2007. Injury Jan;41(1):86-91.
Soliman MM, Macky TA. Pattern of ocular trauma in Egypt. Graefes Arch Clin Exp Ophthalmol 2008 Feb;246(2):205-12.
Alipour F, Mansouri MR, Hosseini M, Mohebi M, Mehrdad R. Work-related eye injury: the main cause of ocular trauma in Iran. European Journal of Ophthalmology 2010 Jul-Aug;20(4):770-5.
Quayum MA, Akhanda AH. Pattern of ocular trauma admitted in a tertiary hospital. Mymensingh Med J 2009 Jan;18(1):1-6.
ณัฐชัย วงษ์ไขยคุณากร, อนุชิต กิจธารทอง.การประเมิน ภาวะอุบัติเหตุทางตาโดยใช้ ocular trauma score ใน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2548;23(2):99-109.
โกศล คำพิทักษ์. Ocular Injury in Thammasat Hospital. จักษุสาธารณสุข. 2543;14(1)19-24.