ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Main Article Content

แพทย์หญิงอรสิริณ กิจดาวรุ่ง
นายแพทย์ชยวิญญ์ ขจิตตานนท์
ชื่นฤทัย ยี่เขียน

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

รูปแบบการวิจัย: Cross-sectional analytic study

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจจอตาโดยใช้การถ่ายภาพจอตาแบบไม่ต้องขยายม่านตา( Non mydriatic retina camera ) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษามีจำนวน 893 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.1 มีอายุเฉลี่ย 55 ปี ส่วนใหญ่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 mg/dL คิดเป็นร้อยละ 90.0 มีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นเบาหวานมากกว่า 5 ปี 349 คน คิดเป็นร้อยละ 39.1 ผลการตรวจตา พบว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ร้อยละ 16.2 โดยแบ่งเป็นเบาหวานขึ้นจอตา ระยะไม่แพร่กระจาย ร้อยละ 15.0 และระยะแพร่กระจาย ร้อยละ 1.2 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้มีเบาหวานขึ้นจอตา คือ ระยะเวลาของการเป็นเบาหวาน และ อายุ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานกว่า5 ปี มีโอกาสเป็น เบาหวานขึ้นจอตามากกว่า ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมาไม่เกิน 5 ปี 2.04 เท่า (95%CI 1.43-2.93) ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นจอตา มากกว่า ผู้ป่วยที่อายุไม่เกิน 50 ปี 1.12 เท่า (95% CI 0.77-1.65)

สรุป: ความชุกของภาวะเบาหวานจอตามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น และ อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกๆอย่างเป็นระบบและวางแผนการรักษา รวมทั้งหาแนวทางป้องกันภาวะเบาหวานจอตา เพื่อช่วยลดภาวะเบาหวานจอตาและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานจอตา

 

Prevalence and Risk factors of diabetic retinopathy in diabetic patientsin Queen Sawang Wattana Memorial Hospital


Abstract

Objective : To determine prevalence and risk factors of diabetic retinopathy in diabetic patients treated at Department of Ophthalmology of Queen Sawang Wattana Memorial Hospital

Study design : Cross-sectional analytic study

Method : Diabetic patients was examined fundus examination by using non-mydriatic retina camera from June 1, 2010 to May 31, 2011

Result : Of the 893 diabetic patients, 60.1% were female. Average age was 55 years. 90% had fasting blood sugar level more than 100 mg/dL.There were 349 patients (39.1%) that had the duration ofdiabetes more than 5 years.The results of fundus examination showed that prevalence of diabetic retinopathy was 16.2% , 15% had non proliferative diabetic retinopathy (NPDR) and 1.2% had proliferative diabetic retinopathy (PDR). Risk factors of diabetic retinopathy in this study were duration of diabetes more than 5 years (OR 2.04,95% CI 1.43-2.93) and aged more than 50 years (OR 1.12 , 95% CI 0.77-1.65)

Conclusion : An increasing prevalence of diabetic retinopathy is occurring throughout the world and this may cause the patient has poor vision and blindness eventually. Regular screening for diabetic retinopathy and more aggressive ma agement of modifi able risk factors should be done to prevent diabetic retinopathy and reduce severity arising from them.

Article Details

Section
Original Study

References

นิตยา พันธุเวทย์, เมตตา คำพิบูลย์, นุชรี อาบสุวรรณ.ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2553 สำนัก

โรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.thaincd.com/document/hot%20news/

diabetes.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 15 สิงหาคม 2554)

ภารพันธ์ บำรุงสุข . อาการแสดงทางตาในโรคทั่วไปใน จักษุวิทยา. หน้า 386-387. วณิชา ชื่นกองแก้ว,อภิชาต สิงคาลวณิช บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล, 2550.

ทวีศักดิ์ จงวิริยานุรักษ์, ความชุกของภาวะเบาหวาน ในจอประสาทตาและแนวทางการดูแลอย่างเป็นระบบในเขตอำ เภอเมือง จังหวัดลำ ปาง, Thai journal of Public Health Ophthalmology 2009;22(2):68-75.

รสสุคนธ์ ศรีพัฒนาวัฒน์. การศึกษาความชุกของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ของจังหวัดสุโขทัย วารสารจักษุศาสตร์. 2550;2(2):6-11.

อภิชาติ สวนศิลป์พงศ์, เพชร รอดอารีย์,การเปรียบเทียบการใช้ภาพถ่ายจอตาบริเวณเดียวโดยไม่ขยายม่านตากับการตรวจมาตรฐานในการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอตา, วชิรเวชสาร 2551;52(2):83-90.

Watanee Jenchitr. Et al. Prevalence of Diabetic Retinopathy in Relation to Duration of Diabetes Mellitus in Community Hospitals of Lampang; J Med assoc Thai 2004; 87(11):1321-6.

Thanya C. et al. , Thailand Diabetes Registry Project: Prevalence of Diabetic Retinopathy and Associated Factors in Type2 Diabetes Mellitus; J Med Assoc Thai 2006 ;89(1): S27-S35.

Zhang X, Saaddine JB, Chou CF, Cotch MF, Cheng YJ, Geiss LS, et al. Prevalence of diabetic retinopathy in the United States, 2005-2008. JAMA 2010 ; 304(6): 649-656.

I.M.Stratton, E.M.Kohner, S.J.Aldington, R.C.Turner, R.R.Holman, S.E.Manley, D.R.Mattews. Risk factrrs for incidence and progression of retinopathy in typeII diabetes over 6 years from diagnosis,Diabetologia 2001 ; 44 : 156-163.