ความชุกภาวะตาบอดสีแดง-เขียว ความดันตาผิดปกติ ค่าสายตาสั้นยาวผิดปกติและค่าสายตาสั้นยาวผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขในกลุ่มประชากรวัยทำงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

อาจารย์นายแพทย์กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล
นายแพทย์ดวงมนตรี โรจน์ดำรงรัตนา

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกภาวะตาบอดสีแดง-เขียวความดันตาผิดปกติรวมทั้งภาวะสายตาผิดปกติ ทั้งที่ได้รับการแก้ไขและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมของประชากรวัยทำงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา

วิธีการวิจัย: ศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากประชากรวัยทำงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มารับบริการ ตรวจคัดกรองสุขภาพตาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในงาน“โครงการประชาชน-ประชาคมธรรมศาสตร์ สุขภาพตาดี” ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 ด้วยวิธีตอบแบบสอบถามสุขภาพตาเพื่อ เก็บข้อมูลและตรวจตาบอดสีชนิดแดง-เขียวโดยใช้ Ishihara plates วัดระดับสายตาโดยใช้ Snellen chart ที่ระยะ 6 เมตรหรือ 20 ฟุต วัดค่าสายตาผิดปกติโดยใช้เครื่อง automated refractor รวมถึงวัดค่าความดันตาโดยใช้เครื่อง air-puff

ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมที่รับการสอบถามข้อมูลและตรวจคัดกรองสุขภาพตาจากกลุ่มประชากรวัยทำงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีจำนวนทั้งหมด 120 คนแบ่งเป็นเพศหญิงจำนวน 102 คน (85%) เพศชาย 18 คน(15%) กลุ่มเข้าร่วมทั้งหมดไม่พบภาวะตาบอดสีเลย มีผู้ป่วยสายตาผิดปกติจำนวน 59 คน (49.16%) มีแว่นสายตา สั้นยาวเอียงจำนวน 44 คน (36.66%) โดยในกลุ่มนี้มีการแก้ไขด้วยแว่นแล้วสายตายังไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ14 คน (31.81%) ความดันตาเฉลี่ยตาขวา 13.15±2.70มิลลิเมตรปรอท ตาซ้าย 13.55±3.05 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งทั้งหมด ความดันตาไม่เกิน 21 มิลลิเมตรปรอท

สรุป: จากการศึกษาในกลุ่มประชากรวัยทำงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่พบตาบอดสีและความดันตาผิดปกติเลย ความผิดปกติที่พบได้คือสายตาผิดปกติซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีแว่นตาเพื่อแก้ไขความผิดปกติอยู่แล้วแต่ก็ยังพบว่า มีบางคนมีการใช้แว่นตาที่ไม่เหมาะสมอยู่

 

Prevalence of red-green Color Vision Defect, Refractive Error, Uncorrected Refractive Error and Ocular Hypertension in Staff at Thammasat University

Abstract

Objective: To study the prevalence of red-green color vision defect, refractive error, uncorrected refractive error and ocular hypertension among the staff of Thammasat university.

Design: Cross sectional descriptive study

Methods: All of the staffs from Thammasat university who received health care services at Thammasat hospital were recruited and collected their informations about eye care condition by filling up the questionaires. The data comprised of the red-green color vision defect screening by Ishihara test, the distance (best corrected or uncorrected) visual acuity measurement by Snellen chart, the refractive error measurement by automated refraction and intraocular pressure measurement by air puff tonometer.

Results: There were 120 staffs in this study. Those were 102 females (85%) and 18 males (15%). The redgreen color vision defect was not found in this group. Fifty-nine staffs (49.16%) had refractive error. About 44 staffs (36.66%) had their own glassed, but in this group there were only 14 staffs (31.81%) still having uncorrected glasses. The mean of intraocular pressure were 13.15±2.70 mmHg in right eye and 13.55±3.05 mmHg in left eye. None of them had intraocular pressure more than 21 mmHg.

Conclusions: There were no prevalence of red-green color vision defect and ocular hypertension in this study. We only found staffs with refractive error who mostly have glasses already. But some of them still had no the best proper glasses.



Article Details

Section
Original Study