ผลของการฝึกในช่วงสิ้นสุดฤดูการแข่งขัน ด้วยความเข้มข้น ระยะเวลาและความบ่อยที่ แตกต่างกันที่มีต่อการคงสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬาฟุตบอล

Main Article Content

ภราดร มีรักษ์
ประทุม ม่วงมี
วรรณ์ทนา พรมสวย

Abstract

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการฝึกออกกำลังกาย 4 แบบที่ประกอบ ด้วยระดับความเข้มข้น ระยะเวลา และความบ่อยที่แตกต่างกันส่งผลต่อการคงสมรรถภาพทางกายเชิง แอโรบิก และแอนแอโรบิกตลอดจนแอนแอโรบิกเทรชโฮลหลังการฝึก  6 สัปดาห์ ช่วงพักการแข่งขันของนักกีฬาฟุตบอล  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คนถูกเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักกีฬาฟุตบอลชาย อายุ 16 - 18 ปี โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง มีสมรรถภาพทางกายและสุขภาพดี ไม่มีการบาดเจ็บและได้รับการฝึกซ้อมมาอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 คนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายและทำการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อคงสมรรถภาพทางกายที่ระดับความเข้มข้นระยะเวลาและความบ่อยต่างกัน  ซึ่งแบ่งเป็น 4 โปรแกรม   คือ กลุ่ม 1 ฝึกที่ระดับความหนัก 50 – 60% ของอัตราชีพจรสูงสุด เวลา 30 นาที 3วัน/สัปดาห์ กลุ่ม 2 ฝึกที่ระดับความหนัก 60 – 70% ของอัตราชีพจรสูงสุด  เวลา 20 นาที 2 วัน/สัปดาห์ กลุ่ม 3 ฝึกที่ระดับ  ความหนัก 60 – 70% ของอัตราชีพจรสูงสุด เวลา 20 นาที 3 วัน/สัปดาห์ และกลุ่ม 4 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึก การฝึกทั้งหมดใช้เวลาฝึก 6 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการฝึกทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายเชิงแอโรบิก ด้วยวิธีของ ออสตรานด์ – ไรห์มิ่ง (Astrand – Rhyming Test) สมรรถภาพทางกายเชิงแอนแอโรบิก ด้วยวิธีของวินเกต (Wingate Anaerobic Test) และแอนแอโรบิกเทรชโฮล ด้วยวิธีการทดสอบแบบคอนโคนี (Conconi Test) แล้วนำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (One – way ANCOVA) นัยสำคัญทางสถิติถูกกำหนดไว้ที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า  1)โปรแกรมการฝึกที่ระดับความเข้มข้น 60-70% MHR 20 นาที 3 วัน/สัปดาห์และการฝึกที่มีความเข้มข้น 50-60% MHR 30 นาที 3 วัน/สัปดาห์สามารถคงค่าความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจน พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก และสมรรถนะในการยืนระยะแอนแอโรบิก (ค่าความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจนของกลุ่ม 3 ลดลงจาก 49.74 เป็น 49.43 มล./กก./นาทีและของกลุ่ม 1 ลดลงจาก 47.73 เป็น 46.09 มล./กก./นาที พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก ค่าพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิกของกลุ่ม 3 ลดลงจาก 11.29 เป็น 10.86 วัตต์/กก.และของกลุ่ม 1 ลดลงจาก 9.92 เป็น 9.78 วัตต์/กก. สมรรถนะในการยืนระยะแอนแอโรบิก ค่าสมรรถนะใน การยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกของกลุ่ม 3 ลดลงจาก 8.80 เป็น 8.42 วัตต์/กก. และของกลุ่ม 1 ลดลงจาก 8.35 เป็น 7.84วัตต์/กก.)  ได้มาก กว่าโปรแกรมการฝึกของกลุ่ม 2 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้โปรแกรมการฝึกทั้งสองยังคงระดับจุดที่ถือเป็นแอนแอโรบิกเทรชโฮลในช่วงหลัง    การฝึกใกล้เคียงกับช่วงก่อนฝึกมากกว่าโปรแกรมการฝึกของกลุ่ม 2 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน (อัตราความเร็วในการวิ่ง ณ จุดที่ถือเป็นแอนแอโรบิกเทรชโฮลของกลุ่ม 3 เปลี่ยนจากที่ 11.58 เป็น 11.42 กม./ชม.และของกลุ่ม 1 เปลี่ยนจาก 10.83 เป็น 10.62 กม./ ชม.)

จากข้อมูลที่ปรากฏสามารถสรุปได้ว่าการฝึกที่ระดับความเข้มข้น 60-70%  ของอัตราชีพจรสูงสุด 20 นาที 3 วัน/สัปดาห์และการฝึกที่ระดับความเข้มข้น 50-60% ของอัตราชีพจรสูงสุด 30 นาที 3 วัน/สัปดาห์ มีผลต่อการคงสภาพสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและแอนแอโรบิกของกลุ่มตัวอย่างได้ดีกว่า โปรแกรมการฝึกอื่นๆ จึงเป็นความเหมาะสมที่จะใช้โปรแกรมการฝึกดังกล่าวในช่วงสิ้นสุดฤดูการแข่งขัน 

 

EFFECTS OF POST–SEASON TRAINING WITH DIFFERENT INTENSITY, DURATION AND FREQUENCY ON MAINTENANCE OF AEROBIC AND ANAEROBIC FITNESS OF SOCCER PLAYERS

The purpose of this experimental research was to investigate the effects of four exercises training regimens with different intensity, duration and frequency on maintenance of aerobic and anaerobic fitness as well as anaerobic threshold after six weeks training of soccer players. Twenty four soccer players (age 16-18 year) obtained through purposive sampling of  Chonradasdonumrung  School volunteered to participate  in this  study. They were randomly divided into 4 groups of six. Group 1 was trained (track running) at intensity of 50-60% maximum  heart  rate  (MHR) for 30 min  and 3 days/week; Group 2 was trained at 60-70% MHR for 20 min  and 2 days/week; Group 3 was trained at 60-70% MHR for 20 min and 3 days/week and Group 4 was the control group with no training . The subjects were tested at pre and post training for VO2max (using Astrand-Rhyming test), anaerobic power and capacity (using Wingate Anaerobic Test) and anaerobic threshold (using Conconi Test). (One – way ANCOVA) was used for data analysis.  Statistical significant was set at .05.

Results  showed that training programs at the intensity of 60-70%MHR for 20 min 3 times/week and at 50-60 %MHR for 30 min 3 times/week caused only small drop in post values of VO2max, anaerobic power and anaerobic capacity from pre-training value (VO2max of Group 3 dropped  from 49.74 to 49.34 ml/kg/min, and. Group 1 dropping  from 47.73 to 46.09 ml/kg/min. training  programs; anaerobic power  values  of Group 3 dropped from 11.29 to 10.86 watt/kg. and in Group 1 dropped from 9.92 to 9.78 watt/kg. ; anaerobic capacity values  of Group 3 dropped from 8.80 to 8.42 watt/kg. and in Group 1 dropping from 8.35 to 7.84 watt/kg.). Such drops were significantly less than that of Group 2 and control group. Furthermore, training programs of Groups 3  and 1 maintained  the point at anaerobic threshold of post-training nearest to the pre-training values (in Group 3 running speed at anaerobic threshold changed from at 11.58 to 11.42 km/hr. and for Group 1 from at 10.83 to 10.62  km/hr.) Again the changes were significantly less than that of changes in Group 2 and the control group.

lt was concluded that training program at 60-70% MHR, 20 min., 3 days/week and at 50-60% MHR, 30 min., 3 days/week were the most effective for maintenance of aerobic and anaerobic fitness. It may be appropriate to use the training programs for post – season training.

Article Details

Section
Articles