การพัฒนารูปแบบการเพิ่มกิจกรรมทางกายของเด็กวัยรุ่นในโรงเรียน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (ระยะที่ 1)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว รวมไปถึงความคาดหวังในอนาคตของโรงเรียนศรีรัตนาลัย (นามสมมติ) รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีเชิงคุณภาพ (การบรรยายเหตุการณ์สำคัญ การสังเกตแบบทั่วไป และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ) กับกลุ่มผู้บริหารและคณะครู จำนวน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า โรงเรียนมีรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนจัดให้ และ นักเรียนปฏิบัติเอง รูปแบบที่โรงเรียนจัดให้ส่งผลทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ส่วนรูปแบบที่นักเรียนปฏิบัติเองไม่มีการแสดงความคิดเห็น นอกจากนั้นยังพบว่า ความคาดหวัง มี 6 ด้าน คือ ด้านโยบาย ด้านแผนงาน ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และด้านสุขภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารและคณะครูให้การยอมรับว่าการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนมีความสำคัญ และควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของโรงเรียน นำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักเรียน
The Development of A model to Increase Physical Activities for Adolescences in School: Participatory Action Research (Phase I)
The purpose of this research were to explain: the promotion of active and inactive physical activities phenomenon from the past through the present day, and the future expectations of the Sriratanalai School (alias). Qualitative data were collected from 20 participants, including administrators and teachers. Results were as follows: there were two physical activity models which were: The promotion of physical activity models provided by school and the model developed by the student’s. Success and failure were shown only in the model provided by school. Result also showed the of policy, plans, personnel development, facilities, a model of physical activity promotion and health. In conclusion: participants accepted the importance of physical activity promotion in school. and they agreed that ongoing program in the future would be beneficial. The future program should include a clear and concrete program in accord with problems and context of the school. The program should also head to student’s better health and quality of life.