Comparison of results of Aerobic Power Value between Astrand-Rhyming Testing Method and Different Maximum Oxygen Consumption Testing Methods
Main Article Content
Abstract
This study was conducted to compare the Astrand-Rhyming Test result of VO2max value with the test results of YMCA Cycle Ergometer Test; Cooper 12 min. Run-Walk Test; Rockport Fitness Walking Test and Step Test. A total of 20 subjects (10 males and 10 females) were purposely selected from volunteer athletes of Burapha University teams in academic year 2011-2012 with average age of 20.45±0.69 yrs; weight of 62.80±10.71 kg and average height of 172.45±10.01cm. This study was a crossover experimental research in which all participants were required to participate in all five tests with 72 hours apart. The data was analyzed by using SPSS software; paired samples t-test to compare the VO2 max value of Astrand-Rhyming Test with VO2 max value obtained from other 4 tests. The results showed that after the comparing of the aerobic power value results of YMCA Cycle Ergometer Test; Rockport Fitness Walking Test and Step Test are no significant different with Astrand-Rhyming Test; but the value of the Cooper 12 min. Run-Walk Test results are significant different with Astrand-Rhyming Test. Results suggested that the YMCA Cycle Ergometer Test; Rockport Fitness Walking Test and Step Test; yielding nearest results to the Astrand-Rhyming Test; could be used for field test when the Astrand-Rhyming Test is not suitable.
การศึกษานี้ดำเนินการเปรียบเทียบผลการทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่งของค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดกับผลการทดสอบ YMCA Cycle Ergometer; คูเปอร์ 12 นาที เดิน-วิ่ง การทดสอบสมรรถภาพด้วยการเดินของร็อคพอร์ท และการทดสอบด้วยการก้าวขึ้น-ลงบันได ผู้ถูกทดสอบจำนวนทั้งสิ้น 20 คน เป็นชาย 10 คน และหญิง 10 คนจากนักกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2011-2012 ที่สมัครใจเข้าร่วม อายุเฉลี่ย 20.45±0.69 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 62.80±10.71กิโลกรัม และความสูงเฉลี่ย 172.45±10.01 เซนติเมตร ผู้ถูกทดสอบต้องเข้าร่วมการทดสอบทั้งหมดโดยมีระยะเวลาห่างระหว่างการทดสอบแต่ละครั้ง 72 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติ paired samples t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดของการทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่งกับค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดจากการทดสอบอื่นๆอีก 4 การทดสอบ ผลการวิจัยแสดงว่าหลังจากการการเปรียบเทียบผลค่า aerobic power ของการทดสอบ YMCA Cycle Ergometer; การทดสอบการเดิน-วิ่ง การทดสอบสมรรถภาพด้วยการเดินของร็อคพอร์ท และการทดสอบด้วยการก้าวขึ้น-ลงบันไดไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่ง แต่ผลของการทดสอบคูเปอร์ 12 นาที เดิน-วิ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่ง ผลการวิจัยเสนอแนะว่า การทดสอบ YMCA Cycle Ergometer การทดสอบสมรรถภาพด้วยการเดินของร็อคพอร์ท และการทดสอบด้วยการก้าวขึ้น-ลงบันไดสร้างผลการทดสอบใกล้เคียงกับการทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่งมากที่สุด สามารถใช้สำหรับการทดสอบภาคสนาม เมื่อไม่สามารถใช้การทดสอบออสตรานด์ไรห์มิ่งได้