อิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามารถแห่งตน ต่อความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพ และความสามารถทางกาย ของนักกีฬาบาดเจ็บระดับความรุนแรงปานกลาง

Main Article Content

สายสมร เดชคง
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
บวรรัฐ วนดุรงค์วรรณ
อัญชลี สุขในสิทธิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู กับความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพและความสามารถทางกายของนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บระดับความรุนแรงปานกลาง ระหว่างระยะก่อนกับหลังการฟื้นฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีอาการข้อเท้าแพลงระดับ 2 กำลังอยู่ในระยะการฟื้นฟูสภาพจำนวน 31 ราย อายุ 18 - 25 ปี ( = 21.45, SD = 2.2) กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู และความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้าน และนักกายภาพบำบัดทดสอบการทำงานของขาข้างที่บาดเจ็บและประเมินความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่คลินิก ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการฟื้นฟูสภาพทำให้การรับรู้ประโยชน์ ความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู และความสามารถทางกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่คลินิกมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้อุปสรรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.39, p = .02) ความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ประโยชน์ (r = .40, p = .02)และความสามารถแห่งตน ( r = .46, p = .01) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทั้ง 3 ด้านกับความสามารถทางกาย (r = -.15 ถึง .24, p > .05) นอกจากนี้ยังพบว่าความร่วมมือในการฟื้นฟูที่คลินิกมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .37, p = .04,) และปัจจัยการรับรู้ความสามารถแห่งตนก่อนการฟื้นฟูสภาพ สามารถทำนายความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้านได้ร้อยละ 20.7 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยา การรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู มีผลต่อความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพ

 

Influence of perceived benefits, barriers and self-efficacy on rehabilitation adherence and physical performance of second degree injured athletes.

The aim of the study was to investigate the relationship between the perceptions of benefits, barriers and self-efficacy with rehabilitation adherence and physical performance of second degree injured athletes during pre and post rehabilitation periods. The participants consisted of 31 athletes age between 18 - 25 years old ( = 21.45, SD = 2.2) with second degree of sprained ankle and received rehabilitation program. Athletes were asked to evaluate their perceptions of benefits, barriers, self-efficacy and home rehabilitation adherence with questionnaires, then physical therapists assessed the performance of affected leg and evaluated clinic rehabilitation adherence. The results showed that the rehabilitation indicated increase to perceive benefits, self-efficacy and physical performance of participants significantly (p < .01). The home rehabilitation adherence showed positive relationship with the perception of benefits (r = .40, p = .02) and self-efficacy (r = .46, p = .01) while the clinic rehabilitation adherence showed negative relationship with the perception of barriers (r = -.39, p= .02). The perceptions did not show relationship with physical performance (r = -.15 to r = .24, p > .05). The results also showed that rehabilitation adherence related with physical performance (r = .37, p = .04). The perception of self-efficacy with rehabilitation could predict rehabilitation adherence at 20.7 percent. The data showed that the psychology factors; the perception of benefits, barriers and self- efficacy influenced rehabilitation adherence.

Article Details

Section
Articles