ผลของการอบอุ่นร่างกายซ้าในช่วงพักครึ่งเวลา ที่มีต่อความเร็วในนักกีฬาฟุตซอล

Main Article Content

ภูวนารถ ศรีทน
ราตรี เรืองไทย
จักรพงษ์ ขาวถิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการอบอุ่นร่างกายซ้ำในช่วงพักครึ่งเวลาที่มีต่อความเร็วในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพศชาย อายุ 18-22 ปี จำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างทำการแข่งขันตลอดทั้งเกมโดยไม่มีการเปลี่ยนตัว จากนั้นในช่วงพักครึ่งเวลากลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมระหว่างพักครึ่งเวลาคือ อบอุ่นร่างกายซ้ำ และนั่งพัก บันทึกค่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย และความเร็ว 10 เมตร ในช่วงก่อนการแข่งขัน หลังจากแข่งขันในครึ่งเวลาแรก ก่อนการแข่งขันในครึ่งเวลาหลัง และหลังจบการแข่งขัน หลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ pair t-test และ one way analysis of variance with repeated measure กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจในช่วงพักครึ่งเวลาของกลุ่มตัวอย่างที่มีการอบอุ่นร่างกายซ้ำมีความแตกต่างกับกลุ่มนั่งพัก (154.27±3.52 และ 121.07±3.93 ครั้ง/นาที ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อุณหภูมิของแกนกลางของร่างกายก่อนการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของกลุ่มตัวอย่างที่มีการอบอุ่นร่างกายซ้ำไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มนั่งพัก (37.09±0.08 และ 37.07±0.13 องศาเซลเซียส ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเร็ว 10 เมตร ช่วงก่อนการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของกลุ่มตัวอย่างที่มีการอบอุ่นร่างกายซ้ำ ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มนั่งพัก (1.893±0.021 และ1.918±0.030 วินาที ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่า ความเร็ว 10 เมตร ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการอบอุ่นร่างกายซ้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ก่อนแข่งขันครึ่งเวลาหลังแตกต่างกับช่วงหลังจากแข่งขันครึ่งแรก (1.893±0.021 และ1.968±0.021 วินาที ตามลำดับ) และความเร็ว 10 เมตร ของกลุ่มตัวอย่างที่นั่งพัก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การอบอุ่นร่างกายซ้ำทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าการนั่งพัก และทำให้ความเร็วก่อนแข่งขันครึ่งเวลาหลังดีขึ้นกว่าความเร็วหลังจบการแข่งขันในครึ่งเวลาแรก

 

Bhuwanat SRITON, Ratee RUANGTHAI and Jakapong KHAOTHAI Faculty of Sports Science, Kasetsart University

The purpose of this research was to study the effects of re-warm-up at half-time on speed of futsal players. Sixteen male futsal players age 18-22 of Kasetsart University were the subjects of the research. The subjects participated in a full futsal match. During half-time, the subjects performed a re-warm-up program and rest by sitting. Both the core temperature and speed 10 meters was recorded prior before the match, after the first half, before the second half and after the match. The results were analyzed with pair t-test and one way analysis of variance with repeated measures at p<0.05

The results show that the heart rate at half-time of re-warm-up group was significantly divergent from rest group (154.27±3.52 and 121.07±3.93 bpm, respectively). The core temperature before the second half of re-warm-up group was found not to be significantly different from rest group (37.09±0.08 and 37.07±0.13 °C, respectively). The speed before the second half of re-warm-up group was not significantly divergent from rest group (1.893±0.021 and 1.918±0.030 s, respectively). In addition, the speed of re-warm-up group was found to be significantly different between before the second half, and after the first half (1.893±0.021 and 1.968±0.021 s, respectively). The speed of rest group was found not to be significantly different between before the match, after the first half, before the second half and after the match. These findings suggest that re-warm-up group had a better heart rate at half-time than rest group and speed at before second half had a better than after the first half.

Article Details

Section
Articles