รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา

Main Article Content

สุวชัย ฤทธิโสม
สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
สมศักดิ์ ลิลา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา โดยกำหนดวิธีวิจัย  4 ขั้นตอน  คือ 1) การศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น 1.1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วิธีการใน การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา 1.2) การสัมภาษณ์อธิการบดี คณบดี และรองคณบดี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนันทนาการ และการจัดการความรู้ 2) การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19  คน ด้วยกระบวนการเทคนิคเดลฟาย (Delphi  Technique) 3) การพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารนันทนาการ ผู้จัดการเรียนการสอนนันทนาการ และผู้ปฎิบัติการสอนนันทนาการ จำนวน  126 คน และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบในการนำไปปฏิบัติจากการสนทนากลุ่ม (focus group) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน 4) การสรุปและการนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา  สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การค้นหาความรู้และดึงความรู้ด้านนันทนาการมีการวางแผนค้นหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านนันทนาการ การค้นหาจากแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด งานวิจัย โดยมอบให้ผู้ปฏิบัตินันทนาการของสถาบันการพลศึกษาเป็นผู้จัดระบบการค้นหาความรู้ด้านนันทนาการ มีการกำหนดแผนการค้นหาความรู้ด้านนันทนาการของการเป็นผู้นำนันทนาการ นันทนาการเชิงพานิชย์และการท่องเที่ยว การพัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชน มีการประเมินผลการค้นหาความรู้โดยผู้บริหารของสถาบันการพลศึกษา 2) การกลั่นกรองความรู้ด้านนันทนาการ ด้านการเป็นผู้นำนันทนาการ นันทนาการเชิงพานิชย์และการท่องเที่ยว การพัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชนโดยมอบให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษาเป็นผู้กลั่นกรองความรู้ด้านผู้นำนันทนาการเกี่ยวกับบุคลิกภาพและกิจกรรม ด้านนันทนาการเชิงพานิชย์และการท่องเที่ยวเกี่ยวกับการศึกษาด้านสถานที่ท่องเที่ยวและด้านการพัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชนเกี่ยวกับการกำหนดกีฬาและกิจกรรมมีการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาจากการกลั่นกรองความรู้ 3)การจัดเก็บและการรอนำไปใช้ด้านนันทนาการ มีการกำหนดแผนการจัดเก็บและการรอนำไปใช้ของข้อมูล มอบหมายผู้จัดเก็บและวิธีการจัดเก็บ ความรู้ด้านนันทนาการ มอบให้ผู้ปฏิบัตินันทนาการ ของสถาบันการพลศึกษาเป็นผู้จัดเก็บ โดยมีรูปแบบการจัดเก็บคือ การบันทึกการจัดเก็บในรูปซีดี วีซีดี และระบบสารสนเทศ มีการประเมินผลการจัดเก็บโดยผู้บริหารสถาบันการพลศึกษา 4) การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านนันทนาการ มีการกำหนดแผนการเผยแพร่ด้านนันทนาการ  จัดระบบการเผยแพร่ความรู้ด้านนันทนาการ มอบให้ผู้ปฏิบัตินันทนาการของสถาบันการพลศึกษาเป็นผู้เผยแพร่โดยเผยแพร่ความรู้ด้านนันทนาการผ่านสื่อ เช่น วารสาร สิ่งตีพิมพ์หรือการจัดสัมมนา มีการประเมินผลรูปแบบและขั้นตอนการเผยแพร่ความรู้ด้านนันทนาการ 5)การนำความรู้ไปใช้ด้านนันทนาการไปใช้ด้านการเรียนการสอน ด้านการบริการแก่สังคม  โดยมอบให้ผู้ปฏิบัตินันทนาการของ 17 วิทยาเขตของสถาบันการพลศึกษา เป็นผู้นำความรู้ด้านนันทนาการไปใช้ในด้านการเรียนการสอนเกี่ยวกับผู้นำนันทนาการ  นันทนาการเชิงพานิชย์และการท่องเที่ยว การพัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชน มีการประเมินผล โดยผู้บริหารของสถาบันการพลศึกษา

2.รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ

 

A KNOWLEDGE MANAGAMENT MODEL FOR DEVELOPMENT OF  PRESONAL RECREATION THE INSTITUTE OF PHYSICAL EDUCATION 

This study was aimed to build a personnel development knowledge management in the area of recreation of Institute of Physical Education. The study includes 4 stages. Stage one is for preliminary/basic information collection by 1.1) review of related literatures and 1.2) interview involved personnel which included president, deans and deputy deans of the institute. Stage 2 is for knowledge management model draft through Delphi technique by 19 experts. Stage 3 is to consider the appropriateness of the model by examination through administrators, instructors, student activity supervisors and practitioners in recreation activity (n = 126) as well as focus group technique by 8 experts. Stage 4 is the conclusion and presentation of proposed model. Quantitative data analysis was also employed using inter-quartile ranges, means and standard deviation.

The data analysis indicates that

1.The model of recreation personal development of Institute of Physical Education include 5 areas of KM process which include 1) firstly : planning of the specialized knowledge of recreation, from the library and research, process: Identify and regulation, plan knowledge of recreation of the leader recreation tourism and community sports and recreation management, and the management of the evaluation of the institute of physical education by the administrator. Secondly, creation, recreational leadership development of sport and recreation program all are controlled by specialized knowledge of recreation. Plan of knowledge management regarding the leader, personality and activities, location of recreational tourism location and activities. The community sports and recreation program, sport and activities and evaluation of content. Thirdly, store, this stage include storage plan for data, storage administrator and storage process, control of specialized knowledge, through CD,DVD,IT and program and control by administrator. Fourthly, sharing, which is the process of sharing the specialized knowledge of recreation, publish the plan (books or magazines) hold seminars, and including the evaluation of sharing process. Finally, use, using knowledge about planning of learning and social activities, practice of specialized knowledge of regulations under the leader of recreation of 17 institutes regarding teaching physical education, recreation and tourism and community sports and recreation management, and evaluated by administrators.  

2. the model is appropriated and practical to be implemented.

 

Article Details

Section
Articles