ปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ปวริศา ยอดมาลัย
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน ตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และแบบสอบถามแรงจูงใจในการออกกำลังกายโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจในการออกกำลังกายของวรรณี  เจิมสุรวงศ์ (2547)   เป็นแบบประเมินค่า 6 ระดับ มีความเที่ยงตรงเท่ากับ .94 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชาชนที่มาออกกำลังกายในสวนสาธารณะเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ทั้งชายและหญิง จำนวน 282 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ย (M) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าที (t-test) ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD และความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยไค-สแควร์ (Chi-square)

ผลการศึกษาสรุปว่าประชาชนออกกำลังกายในสวนสาธารณะเขตเมืองชลบุรี 1) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี (ร้อยละ 51.00) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.70) สถานภาพโสด (ร้อยละ 63.80) การศึกษาระดับปริญญาตรี/ เทียบเท่า (ร้อยละ 68.80) สถานภาพของอาชีพเป็นพนักงานประจำ (ร้อยละ 56.38) ทำงานในช่วงเวลาปกติ (ร้อยละ 86.17) รายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/ เดือน (ร้อยละ 45.74) ระยะเวลาที่ได้ออกกำลังกายมาแล้วมากกว่า 9 เดือน (ร้อยละ 46.10) และออกกำลังกายในช่วงเวลาเย็น (ร้อยละ 85.11) โดยมีความต้องการมีสุขภาพดีมากที่สุด (M = 4.21, SD = 0.66) ตามด้วย การป้องกันความเจ็บป่วย (M = 3.78, SD = 0.98) และเพิ่มความแข็งแรงและอดทนของร่างกาย (M = 3.75, SD = 0.90) มีพฤติกรรมการออกกำลังกาย 5 ครั้งหรือมากกว่า 5 ครั้ง/ สัปดาห์ (ร้อยละ 38.65) ความนานของการออกกำลังกาย 10-30 นาที (ร้อยละ 42.91) และความหนักของการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 78.72) 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของประชาชน ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้นสถานภาพสมรสและรายได้ที่ไม่แตกต่างกัน (p > .05) 3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกาย ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกายด้านความบ่อย พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้น ระดับการศึกษา ที่ไม่แตกต่างกัน (p > .05) พฤติกรรมการออกกำลังกายด้านความนาน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้น อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพของอาชีพ รายได้ และช่วงเวลาที่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำที่ไม่แตกต่างกัน (p > .05) พฤติกรรมการออกกำลังกายด้านความหนัก พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้น อายุ สถานภาพสมรส เวลาทำงานในอาชีพ และระยะเวลาที่ได้ออกกำลังกายมาแล้วที่ไม่แตกต่างกัน (p > .05) 4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ ความบ่อย ความนาน และความหนักของการออกกำลังกาย พบว่า แรงจูงใจในการออกกำลังกายกับพฤติกรรมความบ่อย ความนานและความหนัก มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

 

Personal Factors, Exercise Motivation and Exercise Behavior of People in Muang District, Chonburi

This research was aimed to study and compare exercise motivation and exercise behavior of Muang district, Chon Buri province people regarding personal factors and relationship between exercise motivation and exercise behavior. Personal information, exercise behavior and exercise motivation questionnaires developed by Wannee Jermsurawong (2004), which is a 6 level Likert’s scale type questionnaire, were used for testing the study purpose. The questionnaire’s reliability was .94. The numbers of participant of the study are 282. These participants do their exercise in the public parks around Muang district, Chon Buri. Means, standard deviation, t-test and F-test were used to test study’s purposes. LSD method was employed for the post hoc analysis as well as Chi-square method for correlation analysis.

The study analysis indicates that 1) most of participants’ age range are from 25-59 (51.00 %), mostly females (55.70 %), with more of single marriage status (63.80 %). These participants are mostly office employee (56.38 %) holding their bachelor degree or equivalence (68.80 %). Generally, their monthly income is less than 10,000 baht per month (45.74 %). They exercise in the evening (85.11 %) and have generally done for more than 9 months. The most important reasons served for their involvement purposes are for their health (M = 4.21, SD = 0.66), health prevention (M = 3.78, SD = 0.98) and increment of strength and endurance (M = 3.75, SD = 0.90). They exercise 5 times or more per week (38.65 %), last 10-30 minutes each (42.91 %) at moderate intensity level (78.72 %). 2). Comparison analyses on motivation level are partly significant difference (p < .05) in most of personal factors in the study, except marriage status and monthly income (p > .05). 3). Exercise behavior comparisons based on personal factors on frequency of exercise are significantly difference in most personal factors except education levels (p > .05). For duration of exercise behavior are also significant difference but not on their careers, incomes, and time to exercise (p > .05). Intensity level of exercise behavior are also significant difference (p < .05) in all personal factors except age, marriage status, working time and exercise time (p > .05). A correlation between exercise motivation and behavior are significantly related (p < .05).

Article Details

Section
Articles