ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลโดยการใช้คิวการสอน
Main Article Content
Abstract
งานศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลโดยการใช้คิวการสอน เป็นวิจัยวิธีผสมเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 39 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทักษะและเทคนิคการสอนกีฬาฟุตบอล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การบันทึกแบบบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และแจกแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent Sample t-test, One-way ANOVA และการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล (Content Comparison)
ผลการวิจัยจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและแบบบรรยายเหตุการณ์สำคัญ พบว่า
1. การใช้คิวการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลช่วยในการเรียนรู้ได้ง่าย
2. การใช้คิวการสอนทักษะกีฬาฟุตบอล ช่วยให้เกิดความสนุกสนานขณะการเรียนรู้
3. คิวการสอน มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะกีฬา
ผลการวิจัยจากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากแบบสอบถามความคิดเห็น พบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลโดยการใช้คิวการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40, SD = .465) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ความคิดเห็นของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุดคือ “คิว” ช่วยให้นิสิต สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับไปสู่เพื่อน ช่วยให้แก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติทักษะ (= 4.62, SD = .493)
2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลโดยการใช้คิวการสอน จำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิง พบว่าไม่แตกต่างกัน
3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนทักษะกีฬาฟุตบอลโดยใช้คิวการสอน จำแนกตามลักษณะประสบการณ์การเล่นกีฬาฟุตบอลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าไม่แตกต่างกัน
THE OPINION OF THE STUDENTS ABOUT THE SOCCER SKILLS TEACHING BY USING CUE INSTRUCTION
The aim of this research was to study the opinion of the students about the soccer skills teaching by using cue instruction. This research is a Qualitative and Quantitative Mixed Method Research. The subjects of the study are 39 students majoring in the field of Health and Physical Education Teaching, the Faculty of Education, Burapha University. This data collection method in this research are Semi-structured interviews with focus groups, Critical Incidence and Questionnaire. The statistic used for the data analysis are Independent Sample t-test, One-way ANOVA and Content Comparison
The results obtained from the qualitative methods by using Semi-structured interviews with focus groups and Critical Incidence are as follows:
1. Using Teaching Cues in Soccer can make students more understand the lesson.
2. Using Teaching Cues in Soccer creates enjoyment and amusement among the students while they are learning.
3. Teaching Cues is important in sport skills learning.
The results from the quantitative methods by using Questionnaire are as follows:
1. The overall students’ attitude toward teaching soccer skills by using cue instruction are at the high level (= 4.40, SD = .465). The results of the item analysis reveal the highest score is for “Cue” which allows the students to provide feedback to their peers and to correct the error occurring in their skill training performance (= 4.62, SD = .493).
2. The comparison of students’ attitudes toward soccer skill teaching by using cue between female and male students reveal no difference of the mean score.
3. The comparison of the students’ attitude toward soccer skill teaching by using cue divided by the characters of football experience reveals no difference of the mean score.