โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตที่มีภาวะโภชนาการเกินตามทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

Main Article Content

ศรายุทธ เงาภู่ทอง
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
สุกัญญา เจริญวัฒนะ
สืบสาย บุญวีระบุตร

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อนำมาใช้กับนิสิตที่มี ภาวะโภชนาการเกิน โดยประยุกต์จากทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมที่มีต่อระดับขั้นของพฤติกรรมและสมรรถภาพทางกายของนิสิตที่มีภาวะโภชนาการเกินของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่ลงทะเบียน เรียนวิชาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise for Health) โดยการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน คือ สุ่มกลุ่มกิจกรรมมา 1 กลุ่มและสุ่มนิสิตภายในกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 23 ขึ้นไป จำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตที่มีภาวะโภชนาการเกินที่ประยุกต์จากทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตามหลัก FFITT แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลระดับขั้นของพฤติกรรม และการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย เป็นเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาความถี่ คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

1.  กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยระดับขั้นของพฤติกรรมการออกกำลังกายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (t = 41.00, p < .05)

2.  กลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยระดับขั้นของพฤติกรรมการออกกำลังกายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (t = 7.51, p < .05)

3.  หลังเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของกลุ่มทดลองทุกด้านสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (t มีค่าระหว่าง -9.58 ถึง 10.83, p < .05)

4.  หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนทดลองทุกด้าน (t มีค่าระหว่าง -2.88 ถึง 5.37, p < .05) ยกเว้น ด้านแรงบีบมือ และการดันพื้นไม่สูงกว่าก่อนการทดลอง (t  มีค่าระหว่าง -0.58 ถึง -0.48, p > .05)

5. หลังการทดลองค่าเฉลี่ยระดับขั้นของพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (f = 117.97, p < .05)

6. หลังการทดลอง สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน (t มีค่าระหว่าง 0.27 ถึง 1.80, p > .05)

 

The proposes of this research were to develop an exercise behavioural promoting program of the bachelor degree students who had overweight and to study the effects of the program on steps of behaviour and physical fitness related to health before and after involving in the program. Participants were the students of Burapha University who enrolled in the Exercise for Health subject, by using the two steps of sampling method: Firstly, the activity group (65 participants) who had the Body Mass Index (BMI) of over 23. Secondly, they were divided into two groups: the control group (n = 35; 6 males and 29 females; age = 18-20 years), and the experimental group (n = 30; 6 males and 24 females; age = 18-21 years). Equipments used for this research consisted of three parts: an exercise behavioural promoting program of the students who had overweight applied from the state of behavioural change theory as followed the FFITT model, as well as the Steps of Behaviour Questionnaire used for data collection, and the test of health-related physical fitness. Participants involved in this program for ten weeks. Frequency, Percentage, Mean, Paired-sample t-test were used for measuring data. Experimental results found that:

1.  The experimental group showed an average of the step of the exercise behavior after using the exercise behavioral promoting program higher than before (t = 41.00, p < .05).

2.  The control group showed an average of the step of the exercise behavior after experiment higher than before (t = 7.51, p < .05).

3.  Health related physical fitness of the experimental group after using the exercise behavioral promoting program was found that there was statistically significant difference in all aspects (t values ranged from -9.58 to 10.83, p < .05).

4.  Health related physical fitness of the control group after experiment was found statistically significant differences in body mass index, flexibility, leg strength, and heart rate (t values ranged from -2.88 to 5.37, p < .05), except hand force and push-ups (t values ranged from -0.58 to -0.48, p > .05).

5.  The post test comparison indicates that the experimental group shows higher level of exercise behavior than the control group statistically significant (t = 117.97, p < .05).

6.  The post test comparison indicates that the experimental group shows higher level of health related physical fitness than the control group experimental group with no statistically significant (t values ranged from 0.27 to 1.80, p > .05)

Article Details

Section
Articles