ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยึดมั่นในการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Main Article Content

ภูษณพาส สมนิล
วิมลมาศ ประชากุล
สุภา หารหนองบัว
สุพิตร สมาหิโต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของการยึดมั่นในการออกกำลังกายตามประสบการณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยึดมั่นในการออกกำลังกาย รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยึดมั่นในการออกกำลังกายตามประสบการณ์การมีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นในการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยึดมั่นในการออกกำลังกาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่ปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายติดต่อกันมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนจำนวน 15 คน ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลและข้อสรุปโดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้วิจัยซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแนวปรากฏการณ์วิทยา

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยึดมั่นในการออกกำลังกายให้ความหมายของการยึดมั่นในการออกกำลังกาย คือ การมาออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ และออกกำลังกายติดต่อกันมาแล้วเป็นระยะเวลานาน ด้วยความรู้สึกอยากมาออกกำลังกาย ซึ่งมีความคิดว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต แล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี มีเพื่อน สนุกสนาน และต้องการพัฒนาฝีมือตัวเอง จากการศึกษาประสบการณ์วิถีชีวิตที่ยึดมั่นในการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยึดมั่นต่อการออกกำลังกายพบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1) ก่อนปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกาย ระยะที่ 2) เริ่มปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกาย และระยะที่ 3) เมื่อมีการยึดมั่นในการออกกำลังกาย โดยพบว่าในทุกระยะของการศึกษาสามารถแบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ออกเป็น 2 ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านบุคคลและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ในระยะก่อนปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกายพบปัจจัยทางด้านบุคคล คือ บุคคลมีความเชื่อในความสามารถของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย รวมทั้งบุคคลรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีแรงจูงใจจากภายในตนเองในการ ออกกำลังกาย ในส่วนของปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม คือ บุคคลได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่มีความสำคัญส่งผลต่อความคิดทำให้เริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต่อมาระยะเริ่มปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกายและระยะเมื่อมีการยึดมั่นในการออกกำลังกายพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหมือนกัน กล่าวคือ พบปัจจัยทางด้านบุคคลที่ซึ่งบุคคลยังคงมีความเชื่อในความสามารถของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อไป โดยมีความตั้งใจและยังมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย รวมทั้งบุคคลยังคงรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ ต่อไป ในส่วนของปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น บุคคลยังคงได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่มีความสำคัญส่งผลต่อความคิดทำให้เขาเหล่านี้ปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกายต่อไป

 

FACTORS AFFECTING EXERCISE ADHERENCE BEHAVIOR OF UNIVERSITY STUDENT

This research aims to study the meaning of adhere to exercise by the experience of university students in exercise adherence. The education of experience a way of life thatadhereto exercise of university students adhere to exercise. Phenomenological study, data was collected through in-depth interviews individually. Group, the main contributors are university students who adhere to exercise 15 to check the reliability of the data and conclusions by the contributors. Data were analyzed by the researcher used the phenomenological analysis of data.

The results showed students who adhere to exercise definite exercise adherence that is to exercise regularly and exercise it for a long time with feeling like exercise which is thought of exercise is a part of life. It makes the body healthy and to have funand develop themselves. Of experience, lifestyle adherence to the exercise of the students to adhere to exercise that can be divided into three phases: 1) before exercise phase2) began exercise phase, and 3) when it is adhereto exercise phase. It was found that in all phases of the study can be divided into two factors related to the second side is the side of the person and the environmental factor, namely the phase 1, the factors of the individual is the individual's belief in their own ability to change their behavior, a positive attitude toward exercise, the parties recognize the benefits that would change the behavior and motivation of the person in the exercise as part of the environmental factor is that individuals have the support of individuals with significant influence on the ideas that began to change behavior. Later phase to perform exercise and when adherence to exercise the relevant factors in common that is found elevating the party, where people still have faith in their own ability to change their behavior. Next the intention and the attitude towards exercise including individuals continue to recognize the benefits that will perform the following activities in the environmental factors that people still have the support of individuals with significant influence of these ideas made him practice the next exercise .

Article Details

Section
Articles