รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
Abstract
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชน จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชุมชนระดับตำบลจำนวน 743 ชุมชน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างมีระบบ โดยใช้แบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน 4 มาตรการของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2550- 2554) เพื่อหาประสิทธิผลของการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชน ด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิผลการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชน จำแนกตามขนาดของชุมชน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนมีประสิทธิผลระดับปานกลางในทุกด้าน ชุมชนที่มีขนาดต่างกันมีประสิทธิผลการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาไม่แตกต่างกัน ผู้วิจัยได้จำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ตามค่าเฉลี่ยประสิทธิผลที่ได้จากการสำรวจ ได้แก่ กลุ่มที่มีประสิทธิผลการดำเนินงานในระดับสูง กลุ่มที่มีประสิทธิผลการดำเนินงานในระดับปานกลาง และกลุ่มที่มีประสิทธิผลการดำเนินงานในระดับต่ำ เพื่อใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับการศึกษาในระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ผู้วิจัยคัดเลือกชุมชนขนาดเล็ก 1 แห่ง จากกลุ่มที่มีประสิทธิผลการดำเนินงานในระดับต่ำเป็นสนามวิจัย โดยนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามวิธีการของ Kemmis and McTaggart (2005) มาใช้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ผลการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนที่ชุมชนยอมรับได้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนา
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีโครงสร้างที่สำคัญคือ ต้องมีองค์การกีฬาในชุมชน ที่ประกอบด้วยแกนนำในชุมชนและหัวหน้าหน่วยงานในชุมชน ทำงานร่วมกันด้วยความร่วมแรงร่วมใจ และเสียสละ ต้องประสานทรัพยากรและประสานประโยชน์ของทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของคนในชุมชน และจัดกิจกรรมที่ปลอดจากอบายมุข
Exercise and Sport Promotion Model in Community Following the Sufficiency Economy Philosophy
The aim of this research was to develop the exercise and sport promotion model in community following the sufficiency economy philosophy. The research was divided into 2 phases.
The first phase was to survey the actual situation of exercise and sport promotion in 743 systemic random Sub-districts in Thailand. A questionnaire according to the 4 measures of sport-for-all strategy in the 4th National Sports Development Plan (2008-2011) were designed and used as an instrument. The effectiveness of exercise and sports promotion was analyzed in terms of means and standard deviations, and compared by community size using multivariate analysis of variance.
The results revealed that the exercise and sport promotion in communities were fairly effectiveness in all aspects. The size of community did not affect the effectiveness of exercise and sport promotion. The effectiveness was then grouped into high, moderate, and low level. One community in the low group was targeted for development.
The second phase was to develop an exercise and sport promotion model in community following the sufficiency economy philosophy using participatory action research method (Kemmis & McTaggart, 2005) in the selected community, and the goal of development was the effectiveness that accepted by community.
The results showed that exercise and sport promotion model in community following the sufficiency economy philosophy must have a sport organization as essential structure which compound of community mainstays and directors of agencies in community. They should to work together with the efforts and resources devoted to coordination and cooperation of all parties together, by gradually approach and traditional knowledge using. Especially, the sport organization should be aware of life style and needs of the community with no allurement leading to ruin in any activities.