ผลของการแทรกกิจกรรมทางกายที่มีต่อแรงจูงใจตามสถานการณ์ความเชื่อมั่นตนเองเฉพาะด้าน และความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเอง

Main Article Content

พรเทพ ราชรุจิทอง
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
สุรินทร์ นิยมางกูร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการแทรกกิจกรรมทางกายที่มีต่อแรงจูงใจตามสถานการณ์ ความเชื่อมั่นตนเองเฉพาะด้าน และความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเองของนิสิตที่เรียนกิจกรรมพลศึกษา (PEA) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 103 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแยกเป็นกลุ่มควบคุม 47 คน และกลุ่มทดลอง 56 คน ในการศึกษาครั้งนี้นิสิตกลุ่มทดลองใช้เวลาเรียนวอลเลย์บอล 70 นาที ต่อด้วยกิจกรรมแอโรบิกแดนซ์ (Aerobic Dance) การฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training) 30 นาที และตามด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) 20 นาที ส่วนนิสิตกลุ่มควบคุมเรียนวอลเลย์บอลตามปกติ 120 นาที โดยใช้ระยะเวลาทำการศึกษา 12 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลจากนิสิตที่เข้าร่วมการวิจัยก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามแรงจูงใจตามสถานการณ์ (ค่าความเชื่อมั่น .85 .73 .75 และ .72) แบบสอบถามความเชื่อมั่นตนเองเฉพาะด้าน (ค่าความเชื่อมั่น .87) และแบบสอบถามความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเอง (ค่าความเชื่อมั่นเพศชายอยู่ที่ .81 - .86 เพศหญิงอยู่ที่ .84 - .92) จากการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า การแทรกกิจกรรมทางกายสามารถเพิ่มแรงจูงใจตามสถานการณ์ ความเชื่อมั่นตนเองเฉพาะด้าน และความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเองให้กับผู้เรียนได้สูงขึ้น ยกเว้นองค์ประกอบย่อยของความรู้สึกที่ดีต่อร่างกายตนเองด้านสภาวะทางกายเพศหญิงที่ไม่แตกต่างกัน

 

Effect of Physical Activities Intervention on Situational Motivation, Self-Efficacy and Body Self-Esteem

The present research was aimed to examine the effects of additional physical activity intervention on situational motivation, self efficacy and body self esteem of undergraduate students taking a physical education activity (PEA) class. One hundred and three undergraduate students volunteered to participate and were randomly assigned to a control group (n = 47) and an experiment group (n = 56). The experimental group participants took a 70-minute volleyball class with an additional of either 30 minutes aerobic dance or weight training, followed by 20 minutes stretching exercise. The control group participants took a regular 120-minute volleyball class. Between 12-week study, all participants were asked to respond to a situational motivational scale (r = .85, .73, .75, and .72), self-efficacy (r = .87) and body self-esteem for male (r = .81 - .86) and for female (r = .84 - .92) prior to and after the experiment. Statistical analysis indicated that additional physical activities can enhance situational motivation, self-efficacy and body self-esteem of students, except a physical condition for female subscale of body self-esteem.

Article Details

Section
Articles