Validation of the Thai Version of the Sport Imagery Ability Measure among Golfers

Main Article Content

Tirata Bhasavanija
Naruepon Vongjaturapat
Tony Morris
Pichit Muangnapo

Abstract

The aim of the present study was to examine the reliability and validity of the SIAM-T for use among Thai golfers. Data were obtained from 477 Thai golfers (male = 244, female = 233) ranging in age from 18 – 53 years (M = 30.06, SD = 11.49). These golfers had competed at school level (n = 164), local level (n = 77), provincial level (n = 96), and national level = 140). The results showed that the mean score on the SIAM-T was 241.8 (min = 160.2, max = 290.2), indicating that golfers commonly used imagery in golf activities, albeit with use varying between “seldom use” and “often use” across participants. The imagery component for which golfers reported strongest ability was the visual sense (M = 290.2; male = 294.7, female = 285.4), and the component for which they reported least ability was the olfactory sense (M = 160.23; male = 153.5, female = 166.7). Cronbach’s alpha coefficients indicated that the SIAM-T was reliable, varying from gustatory (α = .54) to control (α = .74). Moreover, the three-week-interval test-retest reliability (N = 50) showed that the SIAM-T was stable, varying from auditory and tactile (r = .61) to speed and duration (r = .98). In a Confirmatory Factor Analysis, the 3-factor adjusted structure underlying the 12 sub-scales of the SIAM-T exhibited an adequate fit (RMSEA = .08, CFI = .99, NNFI = .99). Comparing imagery ability between male and female golfers, there were no significant differences in 11 subscales, but a difference was observed on the tactile subscale. Comparison of young adult and mature golfers, revealed significant differences only on the duration and control subscales. Comparing professional and novice-level-golfers, there was a statistically significant difference between imagery ability in 11 subscales, only the gustatory sense showed no significant difference. This finding supported the construct validity of the SIAM-T.

การพัฒนามาตรฐานของแบบวัดความสามารถในการจินตภาพฉบับภาษาไทยสำหรับนักกอล์ฟ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่าแบบวัดความสามารถในการจินตภาพมีความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงในการวัดที่สูง โดยทำการทดสอบในนักกอล์ฟไทย จำนวน 477 คน (ชาย = 244 และหญิง = 233 คน) อายุเฉลี่ย คือ 30.06 ปี (SD = 11.47) เป็นนักกอล์ฟระดับโรงเรียน 164 คน ระดับท้องถิ่น 77 คน ระดับจังหวัด 96 คน และระดับชาติ 140 คน ผลในการศึกษาครั้งนี้แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการตอบ คือ 241.8 (ค่าต่ำสุด = 160.2 และค่าสูงสุด = 290.2) สรุปได้ว่านักกอล์ฟไทยได้ใช้การจินตภาพในขณะเล่นกอล์ฟ ซึ่งพบว่ามีความถี่ของการใช้ตั้งแต่ ใช้ในบางครั้ง จนถึง ใช้บ่อย ๆ นอกจากนี้ องค์ประกอบของการจินตภาพที่แสดงความถี่ในการใช้มากที่สุด คือ การเห็น (ค่าเฉลี่ย = 290.2) พบในชาย = 294.7 และในหญิง = 285.4 และองค์ประกอบที่แสดงความถี่ในการใช้น้อยที่สุด คือ การรับกลิ่น (ค่าเฉลี่ย = 160.2) พบในชาย = 153.5 และในหญิง = 166.7 จากนั้น การทดสอบความเชื่อมั่นภายในเพื่อหาค่าสัมปสิทธิสหสัมพันธ์แบบครอนบาชอัลฟา พบว่า ค่าความสัมพันธ์ของการตอบอยู่ในระดับสูง โดยเรียงลำดับตั้งแต่ องค์ประกอบทางด้านการรับรสชาด (α = .54) จนถึง การควบคุม (α = .74) ส่วนค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบซ้ำ ที่มีระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ในการเก็บข้อมูล (N = 50) พบว่า ค่าความสัมพันธ์ของการตอบอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตั้งแต่ องค์ประกอบทางด้านการได้ยิน และการสัมผัส (r = .61) จนถึง ความเร็ว และระยะเวลา (r = .98) ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแปรพื้นฐานทั้ง 12 ตัวของแบบวัด SIAM-T มีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม (RMSEA = 0.08, CFI = 0.99, NNFI = 0.99) สุดท้าย ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ และระดับความสามารถ พบว่า ความสามารถในการจินตภาพของนักกอล์ฟเพศชายและเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกันใน 11 ด้าน แต่มีความแตกกันในด้านความรู้สึกที่เกี่ยวกับการสัมผัส สำหรับนักกอล์ฟระดับชาติมีความสามารถมากกว่าระดับโรงเรียนใน 11 ด้าน แต่ไม่มีความแตกกันในด้านความรู้สึกที่เกี่ยวกับการรสชาติ และสำหรับนักกอล์ฟผู้ใหญ่มีความสามารถมากกว่านักกอล์ฟเยาวชนในด้านของระยะเวลา และการควบคุม 

Article Details

Section
Articles