การประเมินผลการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 และศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 กรอบแนวคิดมาจากทฤฎีระบบ และรูปแบบการประเมินซิปป อันได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 20 คน ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีมและนักกีฬา จำนวน 582 คน กลุ่มเตรียมทีมนักกีฬา จำนวน 524 คน สื่อมวลชน จำนวน 74 คน ผู้ชม จำนวน 364 คน และพ่อค้า/แม่ค้าและผู้มาเที่ยวงาน จำนวน 200 คน
จากผลการศึกษาสภาวะแวดล้อม พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดองค์กรในลักษณะการกระจายความรับผิดชอบให้กับหน่วยต่างๆในมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่ประสานงานกับทุกคณะ มีการประชุมปรึกษาหารือในฝ่ายอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรแต่ละฝ่ายมีความตั้งใจทำงาน มีความภาคภูมิใจต่อการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฯ ทำให้การเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผลการศึกษาปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเตรียมด้านบุคลากร การเงิน สถานที่และวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดการได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สำหรับในเรื่องปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีปัญหาในเรื่องการจัดสรรเวลาเนื่องจากบุคลากรต้องทำงานประจำและมีหน้าที่หลายฝ่าย การจัดการแข่งขันครั้งนี้มีงบประมาณมีความล่าช้า และการจัดซื้อวัสดุโดยส่วนกลางทำให้การทำงานไม่คล่องตัว
ผลการศึกษาผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบ พบว่า
1. นักกีฬา ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีม มีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.63, SD = 0.44)
2. ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยสรุปภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, SD = 0.70)
3. นักกีฬา ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีม ประชาชน และพ่อค้าแม่ค้า มีความพึงพอใจพิธีเปิด-ปิดมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.66, SD = 0.76)
4. สื่อมวลชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยสรุปภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.92, SD = 0.72)
5. พ่อค้า แม่ค้า มีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.11, SD = 0.72)
6. นักกีฬา ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีม มีความพึงพอใจในการเตรียมทีมของนักกีฬาต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.54, SD = 0.52)
ส่วนทางด้านผลกระทบ พบว่า นักกีฬา ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีมนักกีฬา ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีม และประชาชนเห็นด้วยว่ามีผลกระทบด้านสังคม ด้านการพัฒนากีฬา ด้านนักกีฬา ด้านการจัดการแข่งขัน และด้านเศรษฐกิจ