รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย

Main Article Content

ไพฑูรย์ กันสิงห์
สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบกการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับบริบทในมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน คือ การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยโดยศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยวิธีเทคนิคเดลฟาย จากนั้นเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยจากผู้ที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติงานหน่วยงานทางกีฬาในมหาวิทยาลัยของรัฐ และการวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานและด้านการปฏิบัติงานกีฬาในมหาวิทยาลัยของรัฐ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยที่มีความเหมาะสมกับบริบทในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีรูปแบบดังนี้ ด้านการวางแผน มีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์การดำเนินงานกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ด้านการจัดองค์การ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย ด้านการปฏิบัติการ มีการประชาสัมพันธ์ มีขั้นตอนการดำเนินงาน การฝึกอบรมและสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย ด้านการควบคุม มีระบบ วิธีการติดตาม ตรวจสอบ สรุปและการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง และแนวทางการจัดกิจกรรมกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ กีฬาสากล กีฬาพื้นบ้าน กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะและกิจกรรมตามความสนใจของนิสิต สรุปรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยโครงสร้างของรูปแบบของแต่ละด้านมีองค์ประกอบที่เป็นกระบวนการดำเนินงาน คือ ด้านการวางแผน มีองค์ประกอบจำนวน 10 ข้อ ด้านการจัดองค์การ มีองค์ประกอบจำนวน 9 ข้อ ด้านการปฏิบัติการ มีองค์ประกอบจำนวน 7 ข้อ ด้านกการควบคุม มีองค์ประกอบจำนวน 5 ข้อ และแนวทางการจัดกิจกรรมกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย มีองค์ประกอบจำนวน 19 ข้อ จากการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยพบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ปฏิบัติ

Article Details

Section
Articles