ผลของรูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกระยะเวลา 6 สัปดาห์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งและสมรรถภาพการกระโดดของนักกีฬาฟุตบอลเพศชาย

Main Article Content

จักรพงษ์ ขาวถิ่น
นภารินทร์ ชัยงาม

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการพิสูจน์ผลของรูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกระยะเวลา 6 สัปดาห์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งและสมรรถภาพการกระโดดของนักกีฬาฟุตบอลเพศชาย กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนักกีฬาฟุตบอลเพศชายที่ไม่มีการฝึกซ้อมจากทีมวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 22 ราย กลุ่มตัวอย่างทุกรายจะได้รับการสุ่มเพื่อจัดเข้ากลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการฝึกและกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับการฝึก (n=11) เข้าร่วมการฝึกเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ของการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกที่พัฒนาขึ้นดำเนินการฝึก 2 ครั้งต่อสัปดาห์สำหรับบริเวณส่วนล่างของร่างกาย และกลุ่มควบคุม (n=11) ไม่ได้เข้าร่วมการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริก กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะทำการทดสอบในช่วงก่อนและหลังการฝึกพลัยโอเมตริกระยะเวลา 6 สัปดาห์ที่มีต่อระยะทางของความเร็วในการวิ่ง (0-10 10-20 20-30 และ 0-30 เมตร) และการกระโดดแบบเคาน์เตอร์มูฟเมนท์ของสมรรถภาพการกระโดดแนวดิ่งที่เลือกเข้ามาใช้เพื่อเป็นตัวแปรในการทดสอบสำหรับการประเมินผลของรูปแบบการฝึก ผลของการศึกษาวิจัยแสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางด้านสถิติระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกและกลุ่มควบคุมของความเร็วในการวิ่งและสมรรถภาพการกระโดด ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกความเร็วในการวิ่งสำหรับระยะทาง 10-20 และ 0-30 เมตรเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลเพิ่มขึ้นในระยะทาง 10-20 และ 20-30 เมตร สมรรถภาพการกระโดดของกลุ่มที่ได้รับการฝึกเพิ่มขึ้น (p<0.05) แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละความเร็วในการวิ่งหรือสมรรถภาพการกระโดดสำหรับกลุ่มควบคุม ในบทสรุปรูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริกระยะเวลา 6 สัปดาห์สามารถส่งผลเพิ่มความเร็วในการวิ่งและสมรรถภาพการกระโดดในนักกีฬาฟุตบอลเพศชายที่ไม่มีการฝึกซ้อม

Article Details

Section
Articles