ความครอบคลุมและปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับวัคซีนโควิด 19 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกันในครั้งเดียว ในอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • ปรางณพิชญ์ วิหารทอง กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • ภรัญญู สุระโครต กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • ชนินันท์ สนธิไชย กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • ปิยดา อังศุวัชรากร กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • วิชาญ บุญกิติกร กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • โสภณ เอี่ยมศิริถาวร กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2024.48

คำสำคัญ:

ความครอบคลุมวัคซีน, วัคซีนโควิด 19, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนคู่สู้หน้าฝน, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

โรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด 19 เป็นโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน มักระบาดในช่วงฤดูฝน ปี 2566 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการให้วัคซีนโควิด 19 ควบคู่กับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปี (วัคซีนคู่สู้หน้าฝน) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความครอบคลุมและปัจจัยการได้รับวัคซีนคู่สู้หน้าฝน ในอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางแบบเร่งด่วน เก็บข้อมูลโดยการสอบถามอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 18,074 ราย ระหว่างวันที่ 14 กันยายน-19 ตุลาคม 2566 ผลการศึกษาพบว่า ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด 19 คือ ร้อยละ 70 และ ร้อยละ 96.9 ตามลำดับ มีการได้รับวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 12.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับวัคซีนคู่สู้หน้าฝน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย อายุที่เพิ่มขึ้น ระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ตามเกณฑ์การได้รับวัคซีนโควิด 19 และไข้หวัดใหญ่ ปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการรับวัคซีน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค ด้านปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับทราบนโยบาย การรับรู้ถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด 19 ว่าสามารถฉีดพร้อมกันได้ รัฐบาลส่งเสริมให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 พร้อมกัน และหน่วยบริการจัดให้มีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 พร้อมกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
และวัคซีนโควิด 19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รัฐบาลจัดหาวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด 19 อย่างเพียงพอ สรุปได้ว่าการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และวัคซีนโควิด 19 ในอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 เป็นไปตามนโยบายของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสนับสนุนการรับวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามนโยบายวัคซีนคู่สู้หน้าฝน ซึ่งการสร้างการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงในการระบาดของโรค ความรุนแรงของโรค และนโยบายของประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดหาวัคซีนให้เพียงพอ และการสนับสนุนให้หน่วยบริการทุกระดับจัดบริการให้วัคซีนคู่ เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการรับวัคซีนอย่างถูกต้อง เป็นไปตามนโยบายของประเทศ

Downloads

References

Department of Disease Control (TH). Seasonal influenza vaccination guidelines 2023 [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 16]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/dcd/files/1405220230405034434.pdf (in Thai)

Department of Disease Control (TH). Guidelines for COVID-19 vaccination during the 2021 outbreak. [cited 2023 Nov 16]. Available from: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid-19-public-Vaccine-040664.pdf (in Thai)

Department of Disease Control (TH). Guidelines for annual COVID-19 vaccination in conjunction with seasonal influenza vaccination in 2023. [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1425120230519065702.pdf (in Thai)

Ui-eng S. Factors affecting the decision to covid-19 booster vaccine (third dose) among older people in area of Muang District, Songkhla [Internet]. Songkhla: Songkhla Hospital; 2022 [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.skhospital.go.th/wp-content/uploads /2022/12/journal-20221223.pdf (in Thai)

Issarasongkhram M. The relation between the factors of motivations to COVID-19 prevention and access to vaccination service among elderly people. Office of Disease Prevention and Control 10th Journal 2021;19(2):56-67. (in Thai)

Pratumchompoo K. Factor of motivation protection in diseases affecting services influenza vaccination in the elderly Sansuk subdistrict, Muang district, Chonburi province. [dissertation]. Chonburi: Burapha University; 2016. (in Thai)

Kajhonlit B, Panthuramphorn B. Factors affecting the decision making on COVID-19 vaccination among population in Samutprakarn Province. [dissertation]. Bangkok: Ramkhamhaeng University; 2023. (in Thai)

Department of Disease Control (TH). Textbook of vaccines and immunization for disease prevention, 2019. Nonthaburi: Division of Vaccine Preventable Disease; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control (TH). Guidelines for COVID-19 vaccination during the pandemic situation, 2021. Nonthaburi: Division of Communicable Diseases; 2021. (in Thai)

Detkong T, Thanaphakawat L, Tipchot T, Gunadhivadhana P. Outcome of motivational interviewing on decision to get COVID-19 vaccine. Journal of Health Science 2023;32(2):312-21. (in Thai)

Singthep P. Effect of motivation on immunization behavior of corona virus 2019 (COVID-19) of People in Na Yung District, Udon Thani Province. [Internet]. Udon Thani: Udon Thani Provincial Health Office; 2023 [cited 2023 Nov 24]. Available from: https://backoffice.udpho.org /openaccess/index.php?bnav=1 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2024

How to Cite

1.
วิหารทอง ป, สุระโครต ภ, สนธิไชย ช, อังศุวัชรากร ป, บุญกิติกร ว, เอี่ยมศิริถาวร โ. ความครอบคลุมและปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับวัคซีนโควิด 19 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกันในครั้งเดียว ในอาสาสมัครสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 19 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];50(4):600-11. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/271162