การพัฒนาศูนย์การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่แบบมีส่วนร่วม ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ

ผู้แต่ง

  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ชูสง่า สีสัน โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รชานนท์ ง่วนใจรัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ละม่อม กล้าหาญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะขบ

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2024.21

คำสำคัญ:

ศูนย์การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, การมีส่วนร่วมเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ และศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาศูนย์การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ การวิจัยดำเนินการเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2565 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเฉพาะรายในชุมชน ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนา และ ระยะที่ 3 การศึกษาผลลัพธ์การพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายคุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วย มุมมองด้านระบบริการ มุมมองด้านลูกค้า และมุมมองด้านงบประมาณ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์ของการพัฒนา ประกอบด้วย 1) มุมมองด้านระบบบริการ พบว่า มีศูนย์การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่ จำนวน 1 ศูนย์ มุมมองด้านลูกค้า พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในภาพรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.50 และมุมมองด้านงบประมาณ พบว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ และ 2) ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมและนำไปปฏิบัติ จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมีผู้ป่วยสามารถเลิกยาควบคุมระดับไขมันในเลือด ลดการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 38 คน ร้อยละ 18.27 และแพทย์ได้วินิจฉัยให้หยุดการใช้ยารักษาโรค จำนวน 8 คน ร้อยละ 8.33 ดังนั้นรูปแบบการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่แบบมีส่วนร่วม จึงถือได้ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ควรนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

References

Thanurat A, Wihakhir B, Srisanga Y. Handbook for organizing participatory learning on non-communicable diseases (NCDs). Nonthaburi: Divison of non-communicable disease; 2019. (in Thai)

Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health (TH). Statistics report on patients with chronic non-communicable diseases [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 12]. Available from https://spd.moph.go.th/public-health-statistics/ (in Thai)

Department of Disease Control and Non communicable Diseases (TH). Health status information from the Ministry of Public Health [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 12]. Available from http://Healthdata.math.go.th/ (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board. National economic and social development plan No.12 (2017-2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. 2018. (in Thai)

Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office. Chronic non communicable disease report 2021 [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 19]. Available from http://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_Pk.php (in Thai)

Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office. Chronic non communicable disease report 2021 [Internet]. 2021. [cited 2021 Dec 19]. Available from http://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_Pk.php (in Thai)

Inthakanok S, Satayavongthip B, Singsalasang A, Nguanjairak R, Seesan C, Salawongluk T. Development of village health volunteer’s capacity on chronic non-communicable diseases management: A study of the responsible area of Nam Sub Health Promoting Hospital, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province. DPC 9 J 2021;27(1):56-67. (in Thai)

Kemmis S, Mc. Taggart C. The action research planner. 3rd ed. Deakin University: Victoria. 1998.

Diabetes Association of Thailand under the Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Medical practice guidelines for diabetes. Pathum Thani. Romyen Media. 2017. (in Thai)

Thai Hypertension Society. Thai guidelines on the treatment of hypertension. Chiang Mai. Trickthink. 2019. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council (TH). Annual report 2018. Office of the National Economic and

Social Development Council. Bangkok. 2018. (in Thai)

Singsalasang A, Satayavongthip B, Salawongluk T. Potential development among monks on disease protection and complication of chronic disease, Nong Phluang Subdistrict, Jakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. Christian University journal 2021;28(1):88-100. (in Thai)

Singsalasang A, Salawongluk T, Nguanjairak R. Development of self-care competency enhancement course in the elderly school for prevention of dependency among the elderly. Dis Control J 2021;47(4):674-84. (in Thai)

Nguanjairak R, Phrongkhonburi N, Somboonnadee W, Salawonglak T, Satayavongthip B, Singsalasang A. Developing a training program of village health volunteers’ competency enhancement using the new approach of 4E(s) for managing NCDs, Takhob Sub-district, Pakthongchai District, Nakhon Ratchasima Province. Thai Journal of Health Education 2022;45(1):40-55. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite