การพัฒนาภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มเสี่ยง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชูสง่า สีสัน โรงพยาบาลปักธงชัย
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สมเกียรติ อินทะกนก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลน้ำซับ
  • ละม่อม กล้าหาญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตะขบ
  • จุฑามาศ ใบพิมาย โรงพยาบาลปักธงชัย
  • พฤมล น้อยนรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2024.22

คำสำคัญ:

การพัฒนาภาคีเครือข่าย, โรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่ผ่านมาขาดการดำเนินงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย ผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนารูปแบบโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มภาคีเครือข่ายสหวิชาชีพ “ปักธงชัยโมเดล” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โรงพยาบาลปักธงชัย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คน และกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปักธงชัย จำนวน 257 ราย มีการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น กระบวนการพัฒนารูปแบบ และผลลัพธ์การทำงานของภาคีเครือข่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลด้วย paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และนักวิชาการ ซึ่งมีหน้าที่ 1.1) จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพตามหลักยา 8 ขนาน 1.2) ประเมินผล 1.3) ถอดบทเรียน และ 1.4) ปรับการใช้ยา 2) ผลลัพธ์ของกระบวนการพบว่า 2.1) ได้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย 2.2) ได้ระบบและกลไกการทำงานของภาคีเครือข่าย 2.3) ได้แนวปฏิบัติการปรับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และ 2.4) ภาคีเครือข่าย มีความรู้ และทักษะเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนา (p<0.05) 3) ผลลัพธ์การทำงานของภาคีเครือข่ายพบว่า กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงขึ้น (p<0.05) สามารถควบคุมโรคและได้รับการปรับลด-เลิกยาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 60.14 64.14 และ 98.11 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบและผลลัพธ์ใหม่คือ 1) ผู้ป่วยเป็นหมอคนแรกในการดูแลตนเอง 2) เกิดสถานีสุขภาพแนวใหม่ที่ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ และ 3) มีเกณฑ์ปรับลด-เลิกยา ได้แก่ 3.1) มีอาการผิดปกติหลังรับประทานยา และมีระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต หรือไขมันในเลือดอยู่ในระดับต่ำ 3.2) มีการตรวจเลือดและวัดความดันโลหิตพร้อมบันทึกผลทุกสัปดาห์ และ 3.3) มีการปฏิบัติตนตามหลักยา 8 ขนาน ข้อเสนอแนะ : กลุ่มเสี่ยง ควรได้รับกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการจัดการตนเอง ควบคู่กับการปรับลด-เลิกการใช้ยาตามเกณฑ์ จึงจะป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้

References

World Health Organization. Stroke, Cerebrovascular Accident [Internet]. 2023 [cited 2023 Sep 10]. Available from: https://www.emro.who.int/health-topics/stroke-cerebrovascular-accident/index.html

Norseeda W, Chomnirat W. Development Stroke Prevention Guideline for Uncontrolled Hypertension Patients in SAM Phrao Health Promoting Hospital. Journal of Nursing and Health Care 2019;34(4):167-76. (in Thai)

Tiamkao S. Stroke Situation in Thailand. Thai Journal of Neurology 2022;39(2):54-60. (in Thai)

Channuan S, Panomai N. Perception and Self-Care Behavior to Prevent Stroke in Diabetic Patients at Khonsawan Hospital, Chaiyaphum Province. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2018;21(2):120-8. (in Thai)

Maneechom S. Factors Influencing the Ability for Self-Care and the Quality of Life of Stroke Patients at Chiang Mai Neurological Hospital [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 25]. Available from: https://www.cmneuro.go.th/TH/research /63-Full%20Paper-สุทิน%20มณีชมภู.pdf (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Division of Non-Communicable Diseases. Prevention of non-Communicable Diseases [Internet]. 2023 [cited 2023 Jul 9]. Available from: http://www.thaincd.com/

Ministry of Public Health (TH), Drug and medical supply information center. Guidelines for Organization of Digital Health Station Services [Internet]. 2022 [cited 2023 Oct 24]. Available from: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/ 9099. (in Thai)

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University; 1992.

Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Faculty of Public Health. 8 Parallel Drug Training Courses for NCDs Killing (Enhance the

Management of Chronic Non-Communicable Diseases with 4 Elements Principle). Nakhon Ratchasima Province: Nakhon Ratchasima

Rajabhat University; 2019. (in Thai)

Pakthongchai Hospital. Chronic Non-Communicable Diseases Report 2021. Pakthongchai Hospital Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province; 2022. (in Thai)

Inthakanok S, Satayavongthip B, Singsalasang A, Nguanjairak R, Seesan C, Salawongluk T. Development of Village Health Volunteer’s Capacity on Chronic Non-Communicable Diseases Management: A study of the Responsible Area of Nam Sub Health Promoting Hospital, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province. The Office of Disease Prevention and Control 9th

Nakhon Ratchasima Journal 2021;27(1):56-67. (in Thai)

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1981.

Kanfer FH, Goldstein AP. Helping People Change: A textbook of Methods. 3rd ed. New York: Pergamon Press; 1991.

Prentice-Dunn S, Rogers RW. Protection Motivation Theory and Preventive Health: Beyond the Health Belief Model. Health Education Research 1986;1(3):153-61.

Glaharn L, Salawongluk T, Satayavongthip B. The Development of Caregivers, Skills for Improving Long Term Care Service to Relieve Family Caregivers Burdens. Health Education Journal 2023;46(1):26-37. (in Thai)

Phurichaivoranant C. Factors Related to Public Health Administration of District Public Health Officers in Kanchanaburi Province. Community Public Health Journal 2019;5(4):11-15. (in Thai)

Fishbien M, Ajzen Z. Belief, attitudes intention and behavior: an introduction theory and research. Massachusetts: Addison Wesley; 1973.

Hirungerd S, Saenloa P, Thongsawang K. Development of a Care System for Stroke Patients with Community Participation in Bansog Subdistrict, Khonsawan District, Chaiyaphum Province. Journal of Nursing 2021;70(4):34-43. (in Thai)

Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

Sutthinarakorn W. Participatory Action Research and Conscientization. Bangkok: Siamparitut; 2014. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite