ประเมินผลมาตรการการดำเนินงานของทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ในการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดวงสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค https://orcid.org/0000-0003-4073-4730
  • บัญชา พร้อมดิษฐ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • พูลศรี ศิริโชติรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี กรมควบคุมโรค
  • อุษารัตน์ ติดเทียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค
  • สำรวย ศรศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2024.28

คำสำคัญ:

ประเมินผล, ประเมินมาตรการ, ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว

บทคัดย่อ

โรคติดต่อระหว่างประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีระบบการป้องกันควบคุมโรคระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ซึ่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินการเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรค การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลมาตรการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ด้านกระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ และทราบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานตามมาตรการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ในปี 2560-2561 เป็นการวิจัยประเมินผลแบบประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (summative evaluation) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม โดยกำหนดการประเมินผลเป็น 2 ประเด็นประเมินผล (Key Results Area: KRA) และ 6 ตัวชี้วัด (Key Performance Index: KPI) ทำการศึกษาในพื้นชายแดน 3 ชายแดน ได้แก่ 1) ชายแดนไทย–เมียนมาร์ ในจังหวัดระนองและตาก 2) ชายแดนไทย–ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานีและหนองคาย 3) ชายแดนไทย–กัมพูชา ในจังหวัดตราดและสระแก้ว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกข้อมูล (typological analysis) คือ การจำแนกข้อมูลเป็นชนิด (typologies) และนำมาวิเคราะห์แบบอุปนัย (analytic induction) ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินมาตรการ SRRT ในภาพรวมเท่ากับค่าเป้าหมาย โดยมีคะแนน 2.22 จากค่าคะแนนเต็ม 3.0 ซึ่งแสดงว่ามาตรการ SRRT มีศักยภาพในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ชายแดน จังหวัดที่มีผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมาย 1 จังหวัด คือ ตาก มีคะแนน 2.61 ปัญหาอุปสรรคที่พบจำแนกเป็นประเด็น ดังนี้ 1) การเปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานบ่อย 2) งบประมาณไม่เพียงพอ 3) วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ 4) การประสานงานกับหน่วยงานอื่น 5) นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สอดคล้องกัน 6) การพัฒนาศักยภาพไม่ครอบคลุมทุกโรค 7) เขียนรายงานสอบสวนโรคยังไม่ครบทุกเหตุการณ์ เนื่องจาก SRRT มีภาระงานเยอะ และ 8) ข้อจำกัดด้านภาษา ข้อเสนอแนะเนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีความซับซ้อนมากกว่าพื้นที่อื่นจึงควรมีการสร้างภาคีเครือข่ายที่หลากหลายและครอบคลุม รวมถึงพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ตรงกับปัญหาในพื้นที่ชายแดน จึงจะทำให้ปัญหาสาธารณสุขชายแดนได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและยั่งยืน

References

Department of Disease Control (TH), Bureau of General Communicable Diseases. General information of Thailand’s border and points of entry, 2015. Nonthaburi: Bureau of General Communicable Diseases; 2015. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Epidemiology. The resolution and development of border health management, 2015 [Internet]. 2018 [cited 2018 Nov 20]. Available from: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/278865 (in Thai)

Department of Disease Control (TH). The policy of prevention and disease control workshop on strategic management efficiency for disease prevention and control, Department of Disease Control; 2016 Oct 18-20; Prince Palace Hotel, Bangkok. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Epidemiology. Standards and guidelines for surveillance and rapid respond team (SRRT). Edition 1. Nonthaburi: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2012 (in Thai)

Srithongtham O, Songpracha S, Sanguanwongwarn W, Charoenmukayananta S. The impact of health service of the community hospital located in Thailand’s border: migrant from Burma, LAOS, and Cambodia. Journal of Arts and Humanities [Internet]. 2013 [cited 2018 Nov 16];2:40-6. Available from: https://theartsjournal.org/index.php/site/article/view/221

Stake RE. The countenance of educational evaluation. Teach Coll Rec 1967;68(7):523-40.

Best JW. Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1981.

Ministry of Interior (TH), Department of Provincial Administration. Handbook to support the work of the district chief. 1st Ed. Bangkok: Territorial Defence Volunteers Printing; 2017. (in Thai)

Riabporn V, Suggaravetsiri P. Factors related to standard evaluate results of surveillance rapid and response team (SRRT) at district level, Nakhonratchasima province. KKU Journal for Public Health Research 2013;6(2):54-61. (in Thai)

Kiatchanon W. The Sheriff’s development in the next decade. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2021;6(2):441-54. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Epidemiology. International health regulations and epidemiology [Internet]. 2018 [cited 2018 Dec 16];18:52-5. Available from: https://wwwnno.moph.go.th/epidnan/downloads/laws/IHRwithEpidemiological.ppt. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite