การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงในกลุ่มผู้สูงอายุ
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2021.87คำสำคัญ:
การเสริมสร้างสมรรถนะ, การดูแลสุขภาพตนเอง, คุณภาพชีวิต, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิง และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 52 ราย ในโรงเรียนผู้สูงวัยสัมฤทธิ์วิทยา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยสถิติ Paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การศึกษาครั้งนี้ได้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุในดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงตามหลัก 4 อ. (ยา 8 ขนาน) ประกอบด้วย 10 หน่วยสาระการเรียนรู้ จำนวน 198 ชั่วโมง 2) ผลลัพธ์ของการนำหลักสูตรไปใช้จากการประเมินคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ หลังการเข้าร่วมกิจกรรมของหลักสูตร พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก (3.52±0.89) และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก (4.47±0.54) ด้วยเช่นกัน และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตหลังเข้าร่วมโครงการดีกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference: 1.36, 95% CI: 0.93, 1.78, p<0.001 และ Mean difference: 1.69, 95% CI: 1.48, 1.89, p<0.001 ตามลำดับ) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปเสริมสร้างทักษะระดับบุคคลและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเองได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การลดภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ
Downloads
References
Laksananant T, Itthidechpong S. Aging self care. Nonthaburi: Department of Health; 2015. (in Thai)
Prasatkul P. Situation the Thai elderly 2015. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute; 2016. (in Thai)
National Statistical Office. Report on the 2017 survey of the older person in Thailand. Bangkok: Statistical Forecasting Division, National Statistical Office; 2018. (in Thai)
Ministry of Public Health (TH). Annual report 2017. Division of non-communicable disease, Department of disease control. Nonthaburi: Division of non-communicable disease; 2017. (in Thai)
Nakhon Ratchasima Health Provincial Office (TH). Data from ADL screening 2016 [Inter-net]. Nakhon Ratchasima [cited 2018 Jun 24]. Available from: http://www.korathealth.com/ korathealth/download/
Thailand Information Center (TH). Phimai Demographic Information, Nakhon Ratchasima Province [Internet]. Nakhon Ratchasima [cited 2018 Jun 24]. Available from: http://nakhon-ratchasima.kapook.com/%E0%B8%9E%E0%B 8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8 %A2.
Ban Sum Health Promoting Hospital. Population data report form. Nakhon Ratchasima: Ban Sum Health Promoting Hospital; 2017. (in Thai)
Pinthong J. Reform of the system to support the aging society of Bangkok. Thai Population Association. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation; 2015.
Thanathiti T, Chamroonsawat K. Development of optimal self-care behavior of seniors in a Se¬nior Club, Bangtoey sub-district, Sampran dis¬trict, Nakhon Pathom province. Sonklanakarind journal of nursing. 2015;35(3):57-70.
Rogers RW. A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology. 1986;91(1):93-114.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review. 1997;84(2):191-215.
Woraphongsathorn S. Research in health education. Bangkok: Ramkhamhaeng University; 2016. (in Thai)
Singsalasang A, Salawongluk T, Satayavongthip B, Nguanjairak R, Phungphet S. Quality of life among the elderly who participated in activities in the elderly school. Proceeding of the 11th National Academic Conference and Presentation of Local Research (Connecting Local Research to International Perspectives); 2019 Aug 6-7; 1015
Nakhon Ratchasima, Thailand. Nakhon Ratcha-sima Rajabhat University; 2019.
Kemmis S, Mc Taggart C. The action research planner. 3rd ed. Deakin University: Victoria; 1998.
Best, John W. Research in education. 3rd ed. Prentice Hall Inc: New Jersey; 1981.
Salawongluk T. Development of training courses for enhancing health competencies for teachers of the health team Nakhon Ratchasima Province. [Thesis]. Nakhon Ratchasima: Vongchavalitkul University; 2010. 189 p. (in Thai)
Rothwell. The Action Learning Guidebook. Josssey - Bass/Pfeifer: California; 1999.
Sombateyotha K, Yoosuk W, Turnbol N. Health Behavior and Quality of Life of the Elderly in Chiangyuen District, Mahasarakham Province. J Sci Technol MSU. 2019;38(1):47-59. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน