ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2021.70คำสำคัญ:
การปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก, พื้นที่ระบาดซ้ำซากบทคัดย่อ
บทนำ : โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศและระดับชุมชน และยังพบปัญหาการระบาดซ้ำซากในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 345 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข มีค่า KR-20 และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ระหว่าง 0.75-0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบการถดถอยทีละขั้น กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย : ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.29 ("X" ̅=36.63, SD=5.09) การวิเคราะห์ถดถอยดังกล่าว พบว่า การรับรู้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (b=0.249, p<0.001) ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม (b=0.308, p<0.001) ความคาดหวังในความสามารถของตนต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (b=0.330, p=0.002) และการดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน (b=1.869, p=0.002) มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ร้อยละ 23.10 สรุป : การรับรู้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ความคาดหวังในความสามารถของตนต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Downloads
References
Margaret C. Global strategy for dengue prevention and control 2012-2020. Geneva: World Health Organization; 2012.
Division of communicable disease, Department of Disease Control. Surveillance program for prevention and control of communicable disease 2017-2021. Nonthaburi: Division of communicable disease; 2017. (in Thai)
Uttaradit Provincial Public Health Office. Report of population health outcome. Uttaradit: Uttaradit Provincial Public Health Office; 2018. (in Thai)
Division of Health Education, Department of Health Service Support. Modern Health Volunteer Handbook. Nonthaburi: Division of Health Education; 2011. (in Thai)
Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New Jersey: John Wiley and Sons; 1995. p. 177-8.
Chaimay P, Rukkuea P. Factors affecting the role of control and Prevent dengue fever of the village health volunteers. Journal of Thaksin University. 2018;21(1):31-9.
Chumwaegwapee P. Health Education and Behavioral Sciences. (5). Khon Kaen: Sirindhorn College of Public Health Khon kaen; 2010. (in Thai)
Leklai C, Mekrueangwong S. Factors for the participation of Village health volunteers in dengue prevention and control work in Thammamoon Subdistrict, Muang District, Chainat Province [dissertation]. Phitsanulok: Naresuan University; 2018. 102 p. (in Thai)
kiatthanabodi P. Parties of dengue prevention and control behaviors Muang District Health Network Buriram Province. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University. 2015;10(2):84-91. (in Thai)
Jondking P. Participation in dengue prevention and control of subjects Village Health Triangle community Khon Kaen Municipality. Journal of the office dpc 7 Khon Kaen. 2017;24(2):29-37. (in Thai)
Chinda A. Factors Effecting Performance in Control and Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever of Village Health Volunteers in Phangnga Province. Journal of Medical Studies. 2017;31(3):555-68. (in Thai)
Munsatraksakul B, Noosorn N. Potential of population in hemorrhagic fever Surveillance in repetition epidemic area in Tabua Sub-District Phothalae District, Phichit Province [dissertation]. Phitsanulok: Naresuan University; 2018. 107 p. (in Thai)
Rattanaputya S. Factors Influencing Surveillance and Control Behavior Dengue fever In the village health volunteers in Mae Rim District, Chiang Mai Province. Journal of Ratchaphruek. 2018;16(2):87-96. (in Thai)
Noppapan P, Saikaew T. Study of factors affecting the performance of preventive work and control dengue fever of the village health volunteers in the municipality, Bang Prok Subdistrict, Mueang District, Pathum Thani Province. Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University. 2016;1(1):39-62. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน