ลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 ที่สถาบันบำราศนราดูร
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2020.50คำสำคัญ:
ปอดอักเสบ, ไวรัสโคโรนา 2019, ภาพรังสีทรวงอก, อาการแสดงบทคัดย่อ
ปัจจุบันเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปทั่วโลก ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ยังมีค่อนข้างจำกัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก ลักษณะภาพรังสีทรวงอก ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 จำนวน 78 คน ที่รักษาในสถาบันบำราศนราดูรตั้งแต่ 8 มกราคม พ.ศ.2563 ถึง 15 เมษายน พ.ศ.2563 โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางคลินิก ลักษณะภาพรังสีทรวงอกและภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการรักษา ผลการศึกษา มีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 78 คน เป็นเพศชาย 59 คน (75.6%) อายุเฉลี่ย 49.8±13.7 ปี อาการที่พบได้มากที่สุดคือ อาการไอ 83.3% และอาการไข้ 75.6% โรคประจำตัวที่พบได้มากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง 33.3% และโรคเบาหวาน 15.3% ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ต่ำได้ 50.0% ภาพรังสีทรวงอกพบความผิดปกติแบบ ground glass opacity ได้มากที่สุด 74.4% รอยโรคมักกระจายตัวอยู่ที่ peripheral 53.9% ปอดทั้ง 2 ข้าง 39.7% และปอดส่วนล่าง 51.3% ภาพรังสีทรวงอกจะมีความผิดปกติมากที่สุดโดยที่ 13 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการป่วย ผู้ป่วย 34.6% มีภาวะปอดอักเสบรุนแรงต้องให้ออกซิเจน ผู้ป่วย 6.4% ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ invasive mechanical ventilation และพบอัตราการเสียชีวิต 5.1% สรุป โรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ไม่มีลักษณะทางคลินิกที่จำเพาะ ภาพรังสีทรวงอกส่วนใหญ่พบลักษณะ ground glass opacity เด่นที่ peripheral ที่ปอดส่วนล่าง การรักษาหลักเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเดิมโดยเฉพาะเรื่องยาต้านไวรัสและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
Downloads
References
World Health Organization. Novel coronavirus: China [Internet]. 2020. [cited 2020 Apr 15]. Available from: https://www.who.int/csr/don/ 12-january-2020-novel-coronavirus-china/en/
Ratnarathon A. Coronavirus infectious disease-2019 (COVID-19): a case report, the first patient in Thailand and outside China. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2020;14(2):117-23. (in Thai)
Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, et al. Clinical characteristics of coronavirus disease 2019 in China. N Eng J Med. 2020;382(18):1708-20.
Zu ZY, Jiang MD, Xu PP, Chen W, Ni QQ, Lu GM, et al. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19): A Perspective from China. Radiology. 2020;296(2):E15-25.
Chung M, Bernheim A, Mei X, Zhang N, Huang M, Zeng X, et al. CT Imaging Features of 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV). Radiology. 2020;295(1):202-7.
Chen N, Zhou M, Dong X, Qu J, Gong F, Han Y, et al. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. Lancet. 2020;395(10223):507-13.
Vaira LA, Salzano G, Deiana G, Riu GD. Anosmia and ageusia: common findings in COVID-19 patients. Laryngoscope. 2020;130(17):1787.
Hornuss D, Lange B, Schroter N, Rieg s, Kern WV, Wagner D. Anosmia in COVID-19 patients. Clin Microbiol Infect. 2020;26(10):1426-7.
Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet. 2020;395(10223):497-506.
Kim D, Quinn J, Pinsky B, Shah NH, Brown I. Rates of co-infection between SARS-CoV-2 and other respiratory pathogens. JAMA. 2020;323(20):2085-6.
Tadolini M, Codecasa LR, García-García JM, Blanc FX, Borisov S, Alffenaar JW, et al. Active tuberculosis, sequelae and COVID-19 co-infection: first cohort of 49 cases. Eur Respir J. 2020;56(1):2001398.
Ng MY, Lee EYP, Yang J, Yang F, Li X, Wang H, et al. Imaging profile of the COVID-19 infection: Radiologic findings and literature review. Radiology: Cardiothoracic Imaging. 2020;2(1):e200034.
Wong HYF, Lam HYS, Fong AH, Leung ST, Chin TWY, Lo CSY, et al. Frequency and distribution of chest radiographic findings in COVID-19 positive patients. Radiology. 2019;296(2):E72-8.
Nile SH, Nile A, Qiu J, Li L, Jia X, Kai G. COVID-19: Pathogenesis, cytokine storm and therapeutic potential of interferons. Cytokine Growth Factor Rev. 2020;53:66-70.
Grein J, Ohmagari N, Shin D, Diaz G, Asperges E, Castagna A, et al. Compassionate use of Remdesivir for patients with severe Covid-19. N Engl J Med. 2020;382(24):2327-36.
Yin Y, Wunderink RG. MERS, SARS and other coronaviruses as causes of pneumonia. Respirology. 2018;23(2):130-7.
Folegatti PM, Ewer KJ, Aley PK, Angus B, Becker S, Belij-Rammerstorfer S, et al. Safety and immunogenicity of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine against SARS-CoV-2: a preliminary report of a phase 1/2, single-blind, randomised controlled trial. Lancet. 2020;396(10249):467-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน